White Spot In Australia by Shrimp News International
บทนำ
โรคตัวแดงดวงขาวได้เกิดขึ้นในเอเชียก่อนหน้านี้นานนับสิบปีเพียงแต่ไม่รุนแรงนัก จนกระทั่งปี 1988 หรือพ.ศ.2531 ที่ได้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงในไต้หวัน ทำลายระบบการเลี้ยงกุ้งที่นั่นอย่างหนัก ผลผลิตเสียหายถึงขนาดล่มสลายตายจากแผนที่การเลี้ยงเลยทีเดียว จากนั้นในปี 1992 (2535) โรคนี้ก็ได้ข้ามมายังประเทศไทย และในปี 1993 (2536) ก็เข้าสู่ประเทศจีนและได้ทำลายผลผลิตเสียหายยับเยินเช่นกัน 207,000 ตัน เหลือเพียง 88,000 ตัน ทำให้กุ้งหายไปจากตลาดกุ้งโลกจนแทบวิกฤตทีเดียว
ในช่วงต้นปี 1999 (2542) โรคตัวแดงดวงขาวได้ข้ามไประบาดสู่ลาตินอเมริการวมถึงเอกวาดอร์, บราซิล, เม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ซึ่งการแพร่เชื้อส่วนใหญ่คาดว่าน่าจะมาจากการนำกุ้งแช่แข็งจากประเทศในเอเชียแล้วนำมาแปรรูปในสหรัฐ แต่ก็ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าต้นตอมาจากประเทศใด ที่มาก่อให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงนี้ได้และทำให้เกิดการคาดเดาถึงทฤษฎีต่างๆเช่นการแพร่กระจายเชื้อโรคโดยนกเป็นพาหะ, กุ้งเหยื่อ, กุ้งจากธรรมชาติ, กุ้งสดและกุ้งแช่แข็ง, พ่อ-แม่พันธุ์กุ้ง,ลูกกุ้ง, อาหารกุ้ง, สภาพอากาศและกระแสน้ำ, และแม้กระทั่งน้ำทิ้งจากในเรือบรรทุกสินค้าประเภทกุ้ง
โรคตัวแดงดวงขาวนี้ได้ชลอหรือคุมกำเนิดอุตสาหกรรมกุ้งทั่วโลกไว้ร่วม 10 ปี สร้างความเสียหายหลายพันล้านดอลล่าร์สหรัฐ กระจายไปทั่วทั้งโลกทุกพื้นที่มีการเลี้ยงกุ้ง ยกเว้นประเทศออสเตรเลียอาจเป็นเพราะมีการสร้างมาตรการกักกันและควบคุมการนำเข้าทั้งวัตถุดิบและกุ้งสุกอย่างเข้มงวดของออสเตรเลียนั่นเอง
ในเดือนเมษายน 2010 (2553) Biosecurity Australia ได้เพิ่มกฎการกักกันการนำเข้าเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องโรคตัวแดงดวงขาวและโรคกุ้งอื่น ๆ กฎระเบียบใหม่นี้ได้เพิ่มการสุ่มตรวจโรคจากตัวอย่างของสินค้าที่นำเข้ามาจากส่วนต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบาดโรคตัวแดงดวงขาวและโรคกุ้งอื่น ๆ ที่ไม่เคยเจอในออสเตรเลียและมีคำสั่งให้นำเข้าได้เฉพาะกุ้งต้มสุกแล้วเท่านั้น
และแล้วในวันที่ 3 กันยายน 2553 หลังจากที่ทางรัฐบาลได้ออกกฎใหม่ไปไม่นานก็เกิดความผิดพลาดขึ้นจนได้ เมื่อทางหน่วยงานบริการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity Service Group) ได้ยอมปล่อยให้กุ้งจำนวน 20 ตันที่นำเข้าจากมาเลเซีย และพวกเขาได้ทดสอบแล้วว่าเป็นบวก (+) นั่นหมายความว่ากุ้งเหล่านั้นมีเชื้อโรคตัวแดงดวงขาวอยู่เข้าประเทศไป พวกเขาบอกว่ามันมีความเสี่ยงเพียงน้อยนิดที่จะเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคตัวแดงดวงขาวระบาดในออสเตรเลีย เพราะสินค้าเหล่านี้เมื่อนำเข้ามามันก็กระจายไปตามบ้านเรือนและภัตตาคาร เย็นวันนี้มันก็ถูกทำเป็นอาหารอยู่บนจานแล้วจึงไม่น่าจะมากังวลกับเรื่องเช่นนี้ แต่โชคร้ายสินค้าที่พวกเขาปล่อยเข้ามานั้นอาจจะคุณภาพไม่สดพอที่จะเป็นอาหารมนุษย์ มันจึงถูกนำมาบรรจุใหม่(re-packaged) แล้วนำไปขายในตลาดอาหารเหยื่อ (bait market) และโรงพ่อ-แม่พันธุ์ที่เมืองดาร์วิน (broodstock at the Darwin hatchery) ได้ซื้ออาหารเหยื่อหรือกุ้งที่ติดเชื้อโรคตัวแดงดวงขาวไปให้พ่อ-แม่พันธุ์ในโรงเพาะฟักกิน
ทางหน่วยงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity officials) ได้ประกาศสภาวะฉุกเฉิน และเข้ามาที่โรงพ่อ-แม่พันธุ์เพื่อทำลายพ่อ-แม่พันธุ์ชุดดังกล่าว แต่มันก็สายเสียแล้วเพราะกว่าจะทราบว่าพ่อ-แม่พันธุ์ชุดนี้เป็นโรคตัวแดงดวงขาวหรือมันต้องใช้เวลาที่จะให้อาการของโรคปรากฎนั้น เชื้อโรคได้กระจายไปยังปูหรือพาหะอื่นๆทั่วบริเวณแล้ว และในปี 2000 (2543) เดือนมิถุนายน ทางรัฐบาลได้สำรวจ 12 ฟาร์มเลี้ยงกุ้งในออสเตรเลีย ปรากฏว่าไม่มีฟาร์มใดเป็นโรคตัวแดงดวงขาวเลย
ขอบคุณครับที่ติดตาม แล้วพบกันใหม่บทความหน้าครับ