30-3-2017
- เครื่องมือวัดคุณภาพน้ำ
- pH meter
- เครื่องวัดความเค็ม (Refractometer or Salinometer)
- เครื่องวัดออกซิเจน (D.O. meter)
- ชุด kit สำหรับวัดค่า แคลเซี่ยม (Ca++), แม็กเนเซียม(Mg++), ฟอสฟอรัส (P), แอมโมเนีย (NH3), ไนไตรท์ (NO2-) เป็นต้น
- TDS meter (Total Dissolve Solid meter)
- กล้องจุลทรรศน์ ( Microscope camera)
- เพลทเพาะเชื้อ (petri dish)
- อาหารเลี้ยงเชื้อ (TCBS Agar or Chromagar)
- หม้อนึ่ง (Autoclave)
- ปิเปต (Pipet)
- หลอดฉีดยาขนาดเล็ก (Syring)
- หรือชุดจานเลี้ยงเชื้อสำเร็จรูป
ผมยังมีความเชื่อว่าการเลี้ยงกุ้งมันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ จึงทำให้ไม่มีการผูกขาดเกิดขึ้น จริงๆแล้วฟาร์มเล็กๆขนาด 3-7 บ่อ น่าจะเป็นขนาดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด แต่ปรากฏว่าฟาร์มขนาดเล็กในประเทศไทยเป็นฟาร์มที่เสียหายมากที่สุด รูปแบบฟาร์มใหญ่ทุนเยอะและเจ้าของดูแลเองเป็นฟาร์มที่ประสบผลสำเร็จมากกว่า
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ก็เป็นเพราะข้อมูล ฟาร์มเล็กๆทั้งหลายขาดการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและไม่ได้นำข้อมูลที่เก็บมาใช้ประโยชน์ คือไม่ได้นำมาวิเคราะห์ว่า crop นี้เราสำเร็จเพราะอะไรหรือไม่สำเร็จเพราะอะไร ส่วนใหญ่พอเราจับเสร็จปิด crop เราก็นั่งคิดว่าจะลงกุ้งรอบใหม่ยังไง จะใช้ลูกกุ้งที่ไหน ถ้าไม่เข้าเป้าก็จะหาเงินจากไหนมาลงต่อเราไม่ได้เอาข้อมูลของชุดที่ได้กับชุดที่ล้มเหลวมาวิเคราะห์ว่ามีปัจจัยตัวไหนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ผมยังมีความเชื่อมั่นในการจดบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบแล้วนำมาใช้ในการวิเคราะห์และต้องเก็บให้มากที่สุด ไม่ใช่เก็บเฉพาะข้อมูลอาหารว่ากินวันละเท่าไหร่แล้วมาสรุปแค่นั้น คุณภาพน้ำก็เป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้เราประสพความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งด้วยเช่นกัน pH เช้า-บ่ายต่างกันมากมั้ย ตอนเช้าสูงไปหรือเปล่า? เหล่านี้ย่อมมีผลต่อกุ้งในบ่อเราทั้งนั้นแหละครับ
ยังไม่สายนะครับ เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้เก็บรวบรวมข้อมูลบันทึกแล้วนำมาวิเคราะห์ หากวิเคระห์ด้วยตัวเองแล้วไม่มั่นใจก็รวมกลุ่มกัน นั่งถกประเด็นต่างๆของข้อมูลและความเป็นไปได้ เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางความคิดเห็น เอาข้อมูลที่มีมาแชร์ มาแบ่งปันกันเพราะว่าเรายังต้องเดินไปข้างหน้าต่อไป เรายังต้องเลี้ยงกุ้งกันอีกนานครับ ช่วยกันเก็บ ช่วยกันบันทึกไว้เถอะครับแล้วทุกท่านจะเห็นว่ามันมีแสงสว่างในอุโมงค์อุสาหกรรมกุ้งไทย ...............สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น