31/3/60

มาตรา 9 ตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาสวล. 2535 ตอนที่ 1

31-03-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน

           วันนี้เริ่มแรกผมตั้งใจว่าจะเขียนเรื่อง ดินกรดเพราะเข้าไปในหน้า Facebook เจอปัญหานี้กันหลายท่านอยู่ แต่เมื่อครู่เข้าเฟสอีกรอบ ม.9 ในพื้นที่น้ำจืดเป็นประเด็นที่ฮอตมากๆและใกล้ตัวจนอาจจะทำให้พี่น้องชาวนากุ้งของเราสิ้นเนื้อประดาตัวได้เลย ถูกจับกุม ฟ้องร้อง ติดคุกโดยไม่รอลงอาญา โดนริบทรัพย์สินเครื่องมือทำมาหากินและอาจจะต้องชดใช้เพื่อการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย คราวนี้เรามาดูไล่เรียงกันไปนะครับ มาตรา 9 คืออะไร


นี่คือข้อความเดิมๆของมาตรา 9 นะครับ


จากพรบ.นี้ นำไปสู่ประกาศ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2541 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2541 เรื่อง "มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี เพื่อระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดภายในเขตจังหวัด"


จากประกาศคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2541 นี้ทำให้มีเพื่อนๆชาวนากุ้ง ในพื้นที่น้ำจืดหลายรายถูกจับกุมและฟ้องร้องต่อศาลจนมีคำพิพากษาออกมาแล้วก็มีซึ่งผมจะพูดในตอนต่อๆไปครับ







30/3/60

โรคตัวแดงดวงขาวในออสเตรเลีย WSSV hit Australia


White Spot In Australia                by   Shrimp News International

บทนำ

               โรคตัวแดงดวงขาวได้เกิดขึ้นในเอเชียก่อนหน้านี้นานนับสิบปีเพียงแต่ไม่รุนแรงนัก จนกระทั่งปี 1988 หรือพ.ศ.2531 ที่ได้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงในไต้หวัน ทำลายระบบการเลี้ยงกุ้งที่นั่นอย่างหนัก ผลผลิตเสียหายถึงขนาดล่มสลายตายจากแผนที่การเลี้ยงเลยทีเดียว จากนั้นในปี 1992 (2535) โรคนี้ก็ได้ข้ามมายังประเทศไทย และในปี 1993 (2536) ก็เข้าสู่ประเทศจีนและได้ทำลายผลผลิตเสียหายยับเยินเช่นกัน 207,000 ตัน เหลือเพียง 88,000 ตัน ทำให้กุ้งหายไปจากตลาดกุ้งโลกจนแทบวิกฤตทีเดียว

              ในช่วงต้นปี 1999 (2542) โรคตัวแดงดวงขาวได้ข้ามไประบาดสู่ลาตินอเมริการวมถึงเอกวาดอร์, บราซิล, เม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา  ซึ่งการแพร่เชื้อส่วนใหญ่คาดว่าน่าจะมาจากการนำกุ้งแช่แข็งจากประเทศในเอเชียแล้วนำมาแปรรูปในสหรัฐ แต่ก็ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าต้นตอมาจากประเทศใด ที่มาก่อให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงนี้ได้และทำให้เกิดการคาดเดาถึงทฤษฎีต่างๆเช่นการแพร่กระจายเชื้อโรคโดยนกเป็นพาหะ, กุ้งเหยื่อ, กุ้งจากธรรมชาติ, กุ้งสดและกุ้งแช่แข็ง, พ่อ-แม่พันธุ์กุ้ง,ลูกกุ้ง, อาหารกุ้ง, สภาพอากาศและกระแสน้ำ, และแม้กระทั่งน้ำทิ้งจากในเรือบรรทุกสินค้าประเภทกุ้ง

             โรคตัวแดงดวงขาวนี้ได้ชลอหรือคุมกำเนิดอุตสาหกรรมกุ้งทั่วโลกไว้ร่วม 10 ปี สร้างความเสียหายหลายพันล้านดอลล่าร์สหรัฐ กระจายไปทั่วทั้งโลกทุกพื้นที่มีการเลี้ยงกุ้ง ยกเว้นประเทศออสเตรเลียอาจเป็นเพราะมีการสร้างมาตรการกักกันและควบคุมการนำเข้าทั้งวัตถุดิบและกุ้งสุกอย่างเข้มงวดของออสเตรเลียนั่นเอง

        ในเดือนเมษายน 2010 (2553) Biosecurity Australia ได้เพิ่มกฎการกักกันการนำเข้าเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องโรคตัวแดงดวงขาวและโรคกุ้งอื่น ๆ กฎระเบียบใหม่นี้ได้เพิ่มการสุ่มตรวจโรคจากตัวอย่างของสินค้าที่นำเข้ามาจากส่วนต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบาดโรคตัวแดงดวงขาวและโรคกุ้งอื่น ๆ ที่ไม่เคยเจอในออสเตรเลียและมีคำสั่งให้นำเข้าได้เฉพาะกุ้งต้มสุกแล้วเท่านั้น

           และแล้วในวันที่ 3 กันยายน 2553 หลังจากที่ทางรัฐบาลได้ออกกฎใหม่ไปไม่นานก็เกิดความผิดพลาดขึ้นจนได้ เมื่อทางหน่วยงานบริการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity Service Group)  ได้ยอมปล่อยให้กุ้งจำนวน 20 ตันที่นำเข้าจากมาเลเซีย และพวกเขาได้ทดสอบแล้วว่าเป็นบวก (+) นั่นหมายความว่ากุ้งเหล่านั้นมีเชื้อโรคตัวแดงดวงขาวอยู่เข้าประเทศไป  พวกเขาบอกว่ามันมีความเสี่ยงเพียงน้อยนิดที่จะเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคตัวแดงดวงขาวระบาดในออสเตรเลีย เพราะสินค้าเหล่านี้เมื่อนำเข้ามามันก็กระจายไปตามบ้านเรือนและภัตตาคาร เย็นวันนี้มันก็ถูกทำเป็นอาหารอยู่บนจานแล้วจึงไม่น่าจะมากังวลกับเรื่องเช่นนี้ แต่โชคร้ายสินค้าที่พวกเขาปล่อยเข้ามานั้นอาจจะคุณภาพไม่สดพอที่จะเป็นอาหารมนุษย์ มันจึงถูกนำมาบรรจุใหม่(re-packaged) แล้วนำไปขายในตลาดอาหารเหยื่อ (bait market) และโรงพ่อ-แม่พันธุ์ที่เมืองดาร์วิน (broodstock at the Darwin hatchery) ได้ซื้ออาหารเหยื่อหรือกุ้งที่ติดเชื้อโรคตัวแดงดวงขาวไปให้พ่อ-แม่พันธุ์ในโรงเพาะฟักกิน

            ทางหน่วยงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity officials) ได้ประกาศสภาวะฉุกเฉิน และเข้ามาที่โรงพ่อ-แม่พันธุ์เพื่อทำลายพ่อ-แม่พันธุ์ชุดดังกล่าว แต่มันก็สายเสียแล้วเพราะกว่าจะทราบว่าพ่อ-แม่พันธุ์ชุดนี้เป็นโรคตัวแดงดวงขาวหรือมันต้องใช้เวลาที่จะให้อาการของโรคปรากฎนั้น เชื้อโรคได้กระจายไปยังปูหรือพาหะอื่นๆทั่วบริเวณแล้ว และในปี 2000 (2543) เดือนมิถุนายน ทางรัฐบาลได้สำรวจ 12 ฟาร์มเลี้ยงกุ้งในออสเตรเลีย ปรากฏว่าไม่มีฟาร์มใดเป็นโรคตัวแดงดวงขาวเลย








ขอบคุณครับที่ติดตาม แล้วพบกันใหม่บทความหน้าครับ







จำหน่าย...ลูกกุ้งขาว-กุ้งดำสายพันธุ์พัฒนา


กุ้งขาว---กุ้งดำสวยๆ โตไว สนใจติดต่อมาได้นะครับ โทร 081-536-6534

ลูกกุ้งขาว  12สต. แถม 20%   สั่งตั้งแต่ 5 แสนขึ้นไป ส่งฟรีทั่วประเทศ
ลูกกุ้งดำ    21สต. แถม 20%    

หากเปิดวีดิโอไม่ได้ คลิกที่ลิ้งค์ครับ   https://youtu.be/2I2Ik1eT8Wo   สำหรับกุ้งดำ

                                                      https://youtu.be/LQ8TcGHgDNI สำหรับกุ้งขาว




เครื่องมือที่ควรมีประจำฟาร์มกุ้ง Shrimp farm Equipments

30-3-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องว่าในฟาร์มกุ้งเราควรมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์อะไรกันบ้างก่อนนะครับ  ในความคิดเห็นของผมนะครับ
  1. เครื่องมือวัดคุณภาพน้ำ
    •  pH meter
    • เครื่องวัดความเค็ม (Refractometer or Salinometer) 
    • เครื่องวัดออกซิเจน (D.O. meter)
    • ชุด kit สำหรับวัดค่า แคลเซี่ยม (Ca++), แม็กเนเซียม(Mg++), ฟอสฟอรัส (P), แอมโมเนีย (NH3), ไนไตรท์ (NO2-) เป็นต้น
    • TDS meter (Total Dissolve Solid meter)
      2. เครื่องมือที่ใช้ในการเพาะเชื้อ
    • กล้องจุลทรรศน์ ( Microscope camera)
    • เพลทเพาะเชื้อ (petri dish)
    • อาหารเลี้ยงเชื้อ (TCBS Agar or Chromagar)
    • หม้อนึ่ง (Autoclave)
    • ปิเปต (Pipet)
    • หลอดฉีดยาขนาดเล็ก (Syring)
      • หรือชุดจานเลี้ยงเชื้อสำเร็จรูป
                  ผมมองว่าฟาร์มที่มีขนาดตั้งแต่ 3 บ่อขึ้นไปควรต้องมีและควรทำการบันทึกจัดเก็บข้อมูลไว้เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลการเลี้ยงและใช้เปรียบเทียบในรอบการเลี้ยง(Crop)ระหว่างบ่อ, หรือระหว่างcrop ต่อcrop, หรือระหว่างฤดูกาล ในรอบปี, หรือฤดูกาลเดียวกันแต่คนละปี ถ้าเรามีการบันทึกจัดเก็บข้อมูลในฟาร์มของเราเองที่ละเอียด เมื่อเรานั่งลงวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ ผมเชื่อว่าเราจะมองเห็นอะไรหลายๆอย่างที่น่าสนใจและสามารถจัดทำเป็นสูตรหรือรูปแบบเฉพาะตัวของในพื้นที่นั้นๆ หรือรูปแบบเฉพาะของเราเองขึ้นมา
               ผมยังมีความเชื่อว่าการเลี้ยงกุ้งมันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  จึงทำให้ไม่มีการผูกขาดเกิดขึ้น จริงๆแล้วฟาร์มเล็กๆขนาด 3-7 บ่อ น่าจะเป็นขนาดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด แต่ปรากฏว่าฟาร์มขนาดเล็กในประเทศไทยเป็นฟาร์มที่เสียหายมากที่สุด รูปแบบฟาร์มใหญ่ทุนเยอะและเจ้าของดูแลเองเป็นฟาร์มที่ประสบผลสำเร็จมากกว่า

             ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ก็เป็นเพราะข้อมูล ฟาร์มเล็กๆทั้งหลายขาดการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและไม่ได้นำข้อมูลที่เก็บมาใช้ประโยชน์ คือไม่ได้นำมาวิเคราะห์ว่า crop นี้เราสำเร็จเพราะอะไรหรือไม่สำเร็จเพราะอะไร ส่วนใหญ่พอเราจับเสร็จปิด crop เราก็นั่งคิดว่าจะลงกุ้งรอบใหม่ยังไง จะใช้ลูกกุ้งที่ไหน ถ้าไม่เข้าเป้าก็จะหาเงินจากไหนมาลงต่อเราไม่ได้เอาข้อมูลของชุดที่ได้กับชุดที่ล้มเหลวมาวิเคราะห์ว่ามีปัจจัยตัวไหนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

            ผมยังมีความเชื่อมั่นในการจดบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบแล้วนำมาใช้ในการวิเคราะห์และต้องเก็บให้มากที่สุด ไม่ใช่เก็บเฉพาะข้อมูลอาหารว่ากินวันละเท่าไหร่แล้วมาสรุปแค่นั้น คุณภาพน้ำก็เป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้เราประสพความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งด้วยเช่นกัน pH เช้า-บ่ายต่างกันมากมั้ย ตอนเช้าสูงไปหรือเปล่า? เหล่านี้ย่อมมีผลต่อกุ้งในบ่อเราทั้งนั้นแหละครับ
           
            ยังไม่สายนะครับ เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้เก็บรวบรวมข้อมูลบันทึกแล้วนำมาวิเคราะห์ หากวิเคระห์ด้วยตัวเองแล้วไม่มั่นใจก็รวมกลุ่มกัน นั่งถกประเด็นต่างๆของข้อมูลและความเป็นไปได้ เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางความคิดเห็น เอาข้อมูลที่มีมาแชร์ มาแบ่งปันกันเพราะว่าเรายังต้องเดินไปข้างหน้าต่อไป เรายังต้องเลี้ยงกุ้งกันอีกนานครับ ช่วยกันเก็บ ช่วยกันบันทึกไว้เถอะครับแล้วทุกท่านจะเห็นว่ามันมีแสงสว่างในอุโมงค์อุสาหกรรมกุ้งไทย  ...............สวัสดีครับ






29/3/60

สารสกัดสมุนไพร Triple Plus V


สารสกัดสมุนไพร (Triple Plus V)  เป็นสารสกัดสมุนไพรที่ใช้เสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียและไวรัส สร้างความแข็งแรงให้กับตัวกุ้งให้สามารถต้านทานโรคต่างๆทั้ง EMS และ WSSV หรือตัวแดงดวงขาวได้  สามารถใช้ได้ทั้งบ่อดินและโรงเพาะฟัก


อัตราการใช้

  • ในบ่อดิน ใช้  Triple Plus V  3-5 กรัม ต่อ อาหาร 1 กก.  วันละ 2 มื้อ สำหรับป้องกัน
  • ในโรงเพาะฟัก ใช้  Triple Plus V  1-3 กรัม ต่อน้ำ 1 ตัน
ขนาดบรรจุ   0.5 กก./ซอง        24ซอง/ลัง

วิธีการใช้ 
  1. ตวง Triple Plus V ตามปริมาณที่จะใช้ แล้วผสมน้ำเพื่อเพิ่มปริมาตร
  2. คลุกเคล้า Triple Plus V กับอาหารให้ทั่ว
  3. เคลือบอาหารกับสารเคลือบทั่วไป เช่น กล้วย,น้ำมันปลา เป็นต้น
  4. ผึ่งอาหารในร่มให้แห้ง ก่อนนำไปหว่านให้กุ้งกิน
ถ้ากุ้งเป็นโรคหรือดูว่าอ่อนแอแล้วควรผสมสารสกัดสมุนไพร Triple Plus V ทุกมื้อและให้จนกว่าจะหาย เมื่อหายแล้วก็ควรให้ต่อเนื่อง เปลี่ยนเป็นมื้อเว้นมื้อไปได้จนจับ ไม่มียาตกค้างแน่นอน

****ไม่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะทุกชนิด******

สารสกัดสมุนไพรบำรุงตับ Anti-V


สารสกัดสมุนไพรบำรุงตับ (Anti-V)  ใช้ผสมอาหารเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในตัวกุ้ง, เสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือด, เม็ดไขมันในตับ กระตุ้นการกินอาหาร  ใช้ได้ทั้งบ่อดินและโรงเพาะฟัก

อัตราการใช้

  • ในบ่อดิน ใช้  Anti-V  5-10 กรัม ต่อ อาหาร 1 กก.  วันละ 2 มื้อ
  • ในโรงเพาะฟัก ใช้  Anti-V  5 กรัม ต่อน้ำ 1 ตัน หรือ ใช้  Anti-V  1-2 กรัม ต่อ อาหาร 1 กก.
ขนาดบรรจุ   1 กก./ซอง        12ซอง/ลัง

วิธีการใช้ 
  1. ตวง Anti-V ตามปริมาณที่จะใช้ แล้วผสมน้ำเพื่อเพิ่มปริมาตร
  2. คลุกเคล้า Anti-V กับอาหารให้ทั่ว
  3. เคลือบอาหารกับสารเคลือบทั่วไป เช่น กล้วย,น้ำมันปลา เป็นต้น
  4. ผึ่งอาหารในร่มให้แห้ง ก่อนนำไปหว่านให้กุ้งกิน
ถ้ากุ้งเป็นโรคหรือดูว่าอ่อนแอแล้วควรผสมสารสกัดสมุนบำรุงตับ Anti-V ทุกมื้อและให้จนกว่าจะหาย เมื่อหายแล้วก็ควรให้ต่อเนื่อง เปลี่ยนเป็นมื้อเว้นมื้อไปได้จนจับ ไม่มียาตกค้างแน่นอน


****ไม่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะทุกชนิด******








สารสกัดสมุนไพร แก้ขี้ขาว White Feces Clear

White Feces Clear

สารสกัดสมุนไพรจากธรรมชาติ (White Feces Clear) ใช้สำหรับป้องกันและรักษา อาการขี้ขาวทั้งในกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ


  • สำหรับการป้องกัน  ใช้อัตรา   5-10 ซีซี ต่อ อาหาร 1 กก.
  • สำหรับการรักษา     ใช้อัตรา 15-20 ซีซี ต่อ อาหาร 1 กก.

ขนาดบรรจุ   5 ลิตร/แกลลอน   5 แกลลอน/ลัง

วิธีการใช้ 
  1. ตวงสารสกัดสมุนไพร White Feces Clear ตามปริมาณที่จะใช้ แล้วผสมน้ำเพื่อเพิ่มปริมาตร
  2. คลุกเคล้าสารสกัดสมุนไพร White Feces Clear กับอาหารให้ทั่ว
  3. เคลือบอาหารกับสารเคลือบทั่วไป เช่น กล้วย,น้ำมันปลา เป็นต้น
  4. ผึ่งอาหารในร่มให้แห้ง ก่อนนำไปหว่านให้กุ้งกิน
ถ้ากุ้งเป็นขี้ขาวแล้วควรผสมสารสกัดสมุนไพรแก้ขี้ขาว White Feces Clear ทุกมื้อและให้จนกว่าจะหาย เมื่อหายแล้วก็ควรให้ต่อเนื่อง เปลี่ยนเป็นมื้อเว้นมื้อไปได้จนจับ ไม่มียาตกค้างแน่นอน


****ไม่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะทุกชนิด******



 White Feces Clear


  • Herbal Extract for fix white feces.
  • Non antibiotic
  • Dosage : 
    • 5-10 cc/1 kg feed  for normal condition  2 time/day
    • 20-25 cc/1 kg feed for fix white feces all meal/day and mixed with Anti-V
*****continuous use because non antibiotic********