13/5/60

2 เดือนแรกของปี 2017 เวียตนามส่งออกลดลง

13-05-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน
                 วันนี้ผมได้คัดลอกบทความของท่านอาจารย์วินิจ  ตันสกุล มาจากfacebook เป็นบทความแปลที่พูดถึงผลผลิตกุ้งที่ส่งออกของประเทศเวียตนามลดลงเล็กน้อยในช่วง 2 เดือนแรกของปี เชิญอ่านบทความได้เลยครับ

มูลค่าส่งออกกุ้งของเวียดนามลดลงเล็กน้อยในช่วง 2 เดือนแรก

สมาคมผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) รายงานว่า มูลค่าการส่งออกกุ้งของเวียดนามลดลงเล็กน้อยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2016 โดยมีรายได้ 378 ล้านดอลลาร์
VASEP ระบุว่า การลดลงด้านมูลค่านี้ (ร้อยละ 0.1) เกิดขึ้นเนื่องจากของมีอุปสรรคด้านเทคนิคเพิ่มมากขึ้นจากตลาดนำเข้า และความต้องการที่ลดลงของกุ้งในตลาดโลกเนื่องจากมีสินค้ากุ้งค้างสต็อคอยู่ในระดับสูง
นอกจากนี้ระหว่างช่วงสองเดือนนั้น ปริมาณหรืออุปทานของกุ้งสดมีจำกัด และมีราคาแพงมากขึ้น ทำให้โรงงานขาดแคลนวัตถุดิบเพื่อการผลิตและแปรรูป
เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว สัดส่วนของกุ้งขาวเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าส่งออกกุ้งกุลาดำลดลง และในกรณีของกุ้งทะเลมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ในช่วงที่ทำการวิเคราะห์พบว่า กุ้งขาวแช่แข็ง/สดมีมูลค่าสูงสุด 129.3 ล้านดอลลาร์ และกุ้งขาวแปรรูปเป็นอันดับสองด้วยมูลค่า 109.1 ล้านดอลลาร์
ตลาดหลักสิบอันดับแรกของเวียดนาม ได้แก่ ญี่ปุ่น, สหภาพยุโรป, สหรัฐอเมริกา, จีน, เกาหลีใต้, แคนาดา, ออสเตรเลีย, ประเทศในอาเซียน, ไต้หวันและสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งคิดเป็น 95.4% ของการส่งออกกุ้งของเวียดนาม
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2017 มูลค่าการส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯและจีนลดลง 25% และ 8.6% ตามลำดับ ในทางตรงกันข้ามญี่ปุ่น สหภาพยุโรป เกาหลี และแคนาดาเป็นตลาดที่มีการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 33.6% เกาหลีใต้ประสบปัญหาเพิ่มขึ้น 18.8% สหภาพยุโรปมีอัตราการเติบโต 16.2% และแคนาดาเพิ่มขึ้นถึง 16.6%
ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นเป็นอันดับ 1 ในการนำเข้ากุ้งของเวียดนามซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 21.4% รองลงมาเป็นอันดับที่สองคือสหภาพยุโรปโดยมีสัดส่วน 19.5% สหรัฐลดลงสู่ตำแหน่งที่สามซึ่งคิดเป็นเพียง 18.6% ของการส่งออกทั้งหมดของสัตว์น้ำกลุ่มกุ้ง-ปู
ในช่วงที่ทำการวิเคราะห์ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นเป็นตลาดที่มีสัญญาณบวกต่อการฟื้นตัวของการนำเข้ากุ้งจากเวียดนาม การส่งออกไปญี่ปุ่นซึ่งเริ่มฟื้นตัวในเดือนสิงหาคม 2016 และขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้
ภายในสหภาพยุโรป การส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4.3% และ 127.1% ตามลำดับขณะที่มูลค่าส่งออกไปยังเยอรมนีลดลง 11.5%
ในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ การส่งออกสัตว์น้ำกลุ่มกุ้ง-ปูไปยังสหรัฐฯมีมูลค่าลดลง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2016

By  Vinij  Tansakul
21-04-2017




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น