29/3/70

วิธีการใช้สารสกัดสมุนไพร แก้ขี้ขาว






สารสกัดสมุนไพร (White Feces Clear)   สนใจ ติดต่อที่ Admin 081-536-6534 ครับ

  •  อายุ 15-20 วันเพื่อป้องกันขี้ขาว  อัตรา 10 cc./ อาหาร 1 กก. วันละ 2 มื้อ โดยใช้สารเคลือบเม็ดอาหาร 
  • อายุ 30-35 วัน และช่วงอายุ 45-50 วัน ถ้าพบเจอว่ามีขี้ขาวลอยเหนือผิวน้ำ ใช้ อัตรา 20-25 cc./อาหาร 1 กก.  ทุกมื้อ โดยใช้ สารเคลือบเม็ดอาหารเช่นกัน 
           เมื่อกุ้งเป็นขี้ขาวแล้ว ขณะที่ใช้จะเห็นว่าขี้ขาวลอยในบ่อเพิ่มขึ้น   ประมาณ 3-5 วัน  ไม่ต้องตกใจนะครับ เป็นปกติสามารถให้ White Feces Clear ได้ต่อไปโดยไม่ต้องลดอาหารและ ให้ใช้ไอโอดีน   1-1.5 ลิตร/ไร่ เพื่อตัดเชื้อ  (เมื่อผ่านไป 24 ชั่วโมงหลังจากลงไอโอดีนจะพบว่า ขี้ขาว ลดลงและค่อยๆหายไป) เมื่อเจอขี้ขาวให้ผสม ไวท์ เฟส เคลียร์ ติดต่อกัน 5-7 วัน  กุ้งจะกลับมาปกติกินอาหารได้ต่อไป ไม่กรอบแกรบ ครับ


******หมายเหตุ  ขณะที่ลงไอโอดีน ยังต้องผสมสารสกัดสมุนไพรแก้ขี้ขาว (White Feces Clear) ให้กินตามปกติ และควรให้กินต่อเนื่อง  หลังจากลงไอโอดีนต่อไปอีก 2-3 วัน

*****เจอขี้ขาวลอยเพิ่ม หลังผสม White Feces Clear ไม่ต้องตกใจนะครับ มันเปนการขับเชื้อออกมาก ให้ใช้ไอโอดีนตัดเชื้อนะครับ


โปรแกรมการให้สมุนไพรเพื่อป้องกัน

  • อายุ 1-7 วัน ให้ Triple plus-V ในปริมาณ 3-5 กรัม/อาหาร 1 กก. วันละ 2 มื้อ (ป้องกัน วิบริโอ)  
  • อายุ 8-14 วัน ให้ Anti-V ในปริมาณ 5 กรัม/อาหาร 1 กก. วันละ 2 มื้อ (กระตุ้นการกินอาหารและ เพิ่มความแข็งแรง) โดยต้องใช้สารเคลือบอาหาร ชนิดใดก็ได้  
  • อายุ 15-20 วัน เข้าสู่โปรแกรมขี้ขาว White Feces Clear ปริมาณ 10 cc/อาหาร 1 กก. วันละ 2 มื้อ


 ****สามารถผสม Anti-V กับ White Feces Clear ร่วมกันได้ โดยสามารถเป็นสารเสริมให้กุ้งแข็งแรงและฟื้นตัวไวขึ้นในช่วง ที่กุ้งเป็นขี้ขาว *******


*******หากไม่เป็นหรือไม่เจอขี้ขาว สามารถผสม สารสกัดสมุนไพรทั้ง  3 ตัวนี่สลับกันไปเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและสร้างภูมิให้กับกุ้ง จนไม่เจอกับ EMS และตัวแดงดวงขาวตลอดระยะการเลี้ยง****



17/5/60

เวียตนามวางแผนผลิตกุ้ง 1ล้านตัน

17-05-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน
                 วันนี้ผมได้คัดลอกบทความของท่านอาจารย์วินิจ  ตันสกุล มาจากfacebook เป็นบทความแปลที่พูดถึงนโยบายของรัฐบาลเวียตนามที่จะยกระดับการผลิตกุ้งในประเทศให้สูงขึ้นไปอีกเป็น 1 ล้านตันในอีก 10 ปีข้างหน้า ว่ากันด้วยวิสัยทัศน์ผู้นำล้วนๆนะครับลองอ่านกันดูครับ

เวียดนามเสนอแผนงานที่จะผลิตกุ้งเกิน 1 ล้านตัน  
Vietnam Net Bridge รายงานว่า กระทรวงเกษตรของเวียดนามหวังว่าจะสามารถผลิตกุ้งได้เกิน 1 ล้านตันภายในปี 2025 (อีก 10 ปีข้างหน้า) โดยการยกระดับเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่ใช้ในอุตสาหกรรมนี้
ตามแผนปฏิบัติการนั้น คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งในประเทศจะเพิ่มมูลค่าการส่งออก 4.5-5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการขยายตัวเฉลี่ย 9.5-12% ในปี 2017-2020
ในช่วงปี 2021-2025 จะมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งแบบไฮเทคและพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งขนาดใหญ่ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นด้วยโครงสร้างพื้นฐานและบริการทางวิชาการ มีการลงทุนแบบซิงโครนัส(เป็นช่วงเวลา) มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน
พื้นที่ทั้งหมดที่ใช้เลี้ยงกุ้งน้ำกร่อยประมาณการว่ามีถึง 710,000 แฮกแตร์ (~ 4.4 ล้านไร่) มีผลผลิตกุ้งรวมทั้งหมด 850,000 ตันในช่วงปี 2017-2020 และขยายออกไปอีก 750,000 แฮกแตร์ มีผลผลิตกุ้งทั้งหมด 1.1 ล้านตันในช่วงปี 2020-2025
แผนงานดังกล่าวเป็นไปตามที่กรมประมงของกระทรวงกำหนดให้ #อุตสาหกรรมกุ้งกลายเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในขณะเดียวกันแผนดังกล่าวมีเป้าหมายในการปรับปรุงคุณภาพ ประสิทธิภาพการผลิต และความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์กุ้งของเวียดนาม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของเกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศ

แปลและเรียบเรียงจาก https://www.undercurrentnews.com/…/vietnam-submits-plan-to…/
 By Vinij Tanskul
 19-04-2017

13/5/60

2 เดือนแรกของปี 2017 เวียตนามส่งออกลดลง

13-05-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน
                 วันนี้ผมได้คัดลอกบทความของท่านอาจารย์วินิจ  ตันสกุล มาจากfacebook เป็นบทความแปลที่พูดถึงผลผลิตกุ้งที่ส่งออกของประเทศเวียตนามลดลงเล็กน้อยในช่วง 2 เดือนแรกของปี เชิญอ่านบทความได้เลยครับ

มูลค่าส่งออกกุ้งของเวียดนามลดลงเล็กน้อยในช่วง 2 เดือนแรก

สมาคมผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) รายงานว่า มูลค่าการส่งออกกุ้งของเวียดนามลดลงเล็กน้อยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2016 โดยมีรายได้ 378 ล้านดอลลาร์
VASEP ระบุว่า การลดลงด้านมูลค่านี้ (ร้อยละ 0.1) เกิดขึ้นเนื่องจากของมีอุปสรรคด้านเทคนิคเพิ่มมากขึ้นจากตลาดนำเข้า และความต้องการที่ลดลงของกุ้งในตลาดโลกเนื่องจากมีสินค้ากุ้งค้างสต็อคอยู่ในระดับสูง
นอกจากนี้ระหว่างช่วงสองเดือนนั้น ปริมาณหรืออุปทานของกุ้งสดมีจำกัด และมีราคาแพงมากขึ้น ทำให้โรงงานขาดแคลนวัตถุดิบเพื่อการผลิตและแปรรูป
เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว สัดส่วนของกุ้งขาวเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าส่งออกกุ้งกุลาดำลดลง และในกรณีของกุ้งทะเลมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ในช่วงที่ทำการวิเคราะห์พบว่า กุ้งขาวแช่แข็ง/สดมีมูลค่าสูงสุด 129.3 ล้านดอลลาร์ และกุ้งขาวแปรรูปเป็นอันดับสองด้วยมูลค่า 109.1 ล้านดอลลาร์
ตลาดหลักสิบอันดับแรกของเวียดนาม ได้แก่ ญี่ปุ่น, สหภาพยุโรป, สหรัฐอเมริกา, จีน, เกาหลีใต้, แคนาดา, ออสเตรเลีย, ประเทศในอาเซียน, ไต้หวันและสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งคิดเป็น 95.4% ของการส่งออกกุ้งของเวียดนาม
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2017 มูลค่าการส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯและจีนลดลง 25% และ 8.6% ตามลำดับ ในทางตรงกันข้ามญี่ปุ่น สหภาพยุโรป เกาหลี และแคนาดาเป็นตลาดที่มีการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 33.6% เกาหลีใต้ประสบปัญหาเพิ่มขึ้น 18.8% สหภาพยุโรปมีอัตราการเติบโต 16.2% และแคนาดาเพิ่มขึ้นถึง 16.6%
ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นเป็นอันดับ 1 ในการนำเข้ากุ้งของเวียดนามซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 21.4% รองลงมาเป็นอันดับที่สองคือสหภาพยุโรปโดยมีสัดส่วน 19.5% สหรัฐลดลงสู่ตำแหน่งที่สามซึ่งคิดเป็นเพียง 18.6% ของการส่งออกทั้งหมดของสัตว์น้ำกลุ่มกุ้ง-ปู
ในช่วงที่ทำการวิเคราะห์ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นเป็นตลาดที่มีสัญญาณบวกต่อการฟื้นตัวของการนำเข้ากุ้งจากเวียดนาม การส่งออกไปญี่ปุ่นซึ่งเริ่มฟื้นตัวในเดือนสิงหาคม 2016 และขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้
ภายในสหภาพยุโรป การส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4.3% และ 127.1% ตามลำดับขณะที่มูลค่าส่งออกไปยังเยอรมนีลดลง 11.5%
ในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ การส่งออกสัตว์น้ำกลุ่มกุ้ง-ปูไปยังสหรัฐฯมีมูลค่าลดลง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2016

By  Vinij  Tansakul
21-04-2017




12/5/60

EU สงสัยแหล่งกำเนิดของกุ้งเวียตนาม

12-05-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน
                วันนี้ผมเอาบทความของท่านอาจารย์วินิจ  ตันสกุลมาฝากเช่นเคยนะครับเป็นบทความแปลที่คัดลอกมาจาก facebook ของท่านครับได้พูดถึงการที่ EU เข้มงวดในการตรวจสอบแหล่งที่มาของกุ้งที่ส่งเข้าไปอียู

สหภาพยุโรปตรวจสอบผู้ส่งออกกุ้งเวียดนามว่ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด

Vietnam Net รายงานว่า ผู้ตรวจสอบสหภาพยุโรปได้ตรวจสอบผู้ส่งออกกุ้งหลายรายในจังหวัด Bac Lieu และ Ca Mau ของเวียดนาม เนื่องจากสงสัยเกี่ยวกับการระบุแหล่งกำเนิดกุ้งส่งออก
Tran Thanh Hai รองอธิบดีกรมนำเข้า-ส่งออกของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามกล่าวว่า เนื่องจากเวียดนามได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรสำหรับการค้ากับสหภาพยุโรป จึงจำเป็นต้องรับประกันถึงแหล่งกำเนิดของสินค้าส่งออก
ปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้าของสหภาพยุโรปสำหรับกุ้งที่ยังไม่แปรรูปของเวียดนามอยู่ที่ 4.2% เทียบกับ 12% สำหรับกุ้งอินเดีย และสำหรับกุ้งกึ่งสำเร็จรูปเวียดนามได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรนำเข้าประมาณ 7% ขณะที่กุ้งจากอินเดียจ่ายถึง 20%
Hai บอกว่า สหภาพยุโรปสงสัยว่าผู้ประกอบการเวียดนามอาจนำเข้ากุ้งจากอินเดียแล้วส่งไปยังสหภาพยุโรป ดังนั้นผู้ตรวจสอบของ EU จึงได้ไปเยี่ยมชมโรงงานกุ้งบางแห่งใน Bac Lieu และ Ca Mau
Hai แนะนำให้ บริษัทผู้ส่งออกกุ้งของเวียดนามให้ความใส่ใจต่อความต้องการของ EU ในการกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้ากุ้งให้มากขึ้น
แปลและเรียบเรียงจาก https://www.undercurrentnews.com/…/eu-inspects-vietnamese-…/
 ByVinij Tansakul
 19-04-2017


22/4/60

“Year of Happy Shrimp”

22-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน

                 วันนี้ผมคัดลอกบทความแปลของท่านอาจารย์วินิจ  ตันสกุล จาก facebook ของท่านอาจารย์ วันนี้พูดถึงสถานการณ์กุ้งโลกที่ปีนี้ทุกคนน่าจะมีความสุข กับทั้งราคาและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจนน่าจะพูดได้ว่าเป็น "Year of Happy Shrimp" เชิญอ่านบทความกันเลยครับ

ที่ประชุม Global Seafood Market Conference (GSMC) แถลงว่า ปี 2017 เป็น
“Year of Happy Shrimp”

ภาคส่วนการเลี้ยงกุ้งมีการขยายตัวมากในปีนี้ ตามรายงานจากเวทีการประชุมผู้เชี่ยวชาญที่สถาบันประมงแห่งชาติในการประชุม GSMC 2017 ระบุให้ปีนี้เป็น “Year of Happy Shrimp”
เอกวาดอร์และไทยถูกรับรู้ว่ามีผลผลิตกุ้งเพิ่มขึ้น และมีความต้องการกุ้งเพิ่มมากขึ้นจากจีน ส่งผลให้ตลาดกุ้งทั่วโลกขยายตัว
เวทีการประชุมระบุว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่พอใจและสะดวกต่อการสั่งซื้อกุ้งที่ร้านอาหารโปรดของพวกเขา และจัดเตรียมกุ้งไปทำอาหารที่บ้าน ในเวลาเดียวกันอาหารทะเลพรีเมี่ยมอื่นๆ เช่น ปลาแซลมอล ปูหิมะ ปลากะพงและปลามาฮิ(ปลาอีโต้มอญ)จากชิลี กำลังพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาด เนื่องจากราคาที่แพงขึ้น ปริมาณที่มีอย่างจำกัด หรือโควตาที่ลดลง
ในสหรัฐอเมริกา ความต้องการกุ้งยังดีอยู่ตลอด ปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% จาก 295 ล้านปอนด์เป็น 330 ล้านปอนด์ สำหรับช่วง 52 สัปดาห์ที่สิ้นสุดลงเมื่อเดือนกย.2016 ผู้บริโภคได้รับผลดีสำหรับความภักดีในสินค้ากุ้ง โดยราคาของกุ้งลดลงมากกว่า 6% จาก 8 ดอลลาร์ (7.50 ยูโร)ต่อปอนด์ มาอยู่ที่ต่ำกว่า 7.50 ดอลลาร์ (7.20 ยูโร)ต่อปอนด์ ประมาณว่าราว 47% ของครัวเรือนอเมริกันได้ซื้อกุ้งในปี 2016 เพิ่มมากขึ้นกว่าในปีก่อนหน้า และการนำเข้ากุ้งของสหรัฐพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2016
ผลผลิตกุ้งเลี้ยงในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 2.8% ในปี 2016 และถุกคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นใน percentage point ในปี 2017 ขณะที่การบริโภคกุ้งในญี่ปุ่นและยุโรปได้ลดลงบ้างเล็กน้อยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การลดลงไม่มากกว่าการทำให้เพิ่มขึ้นจากความต้องการกุ้งที่ทะยานขึ้นสูงในจีน จีนขยับจากมีส่วนแบ่งการตลาด 15% ในปี 2011 เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม 30% ในปี 2016
ผู้ร่วมประชุมท่านหนึ่งบนเวทีการประชุมกล่าวว่า “#ตอนนี้จีนเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในตลาดไปแล้ว”
การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐจะช่วยอุตสาหกรรมกุ้งในปี 2017 ได้ ขณะที่ยังมีความต้องการกุ้งอย่างแข็งขันต่อเนื่องในยุโรป เอเชีย และโซนอเมริกา โดยบราซิลมีศักยภาพด้านบทบาทมากขึ้นในการบริโภคกุ้ง
อย่างไรก็ตาม บนเวทีการประชุมได้เตือนถ้ามีปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบต่ออุปทานหรือปริมาณผลผลิตกุ้ง ผู้ซื้อจะมีกำไรเล็กน้อยสำหรับความคลาดเคลื่อน ดังนั้นการเพิ่มต้นทุนการซื้อหรือเพิ่มต้นทุนนำเข้าดูคล้ายกับเกิดผ่านกันไปอย่างรวดเร็ว
บนเวทีได้ให้ระดับหรือเรท #ด้านความไม่มั่นคงทางการเมือง #เป็นความเสี่ยงสูงสุดสำหรับอุตสาหกรรมกุ้งในปี_2017 จากการที่สภาคองเกรสของสหรัฐ และปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกแถลงการณ์ลงนามด้านนโยบายคุ้มครองที่อาจส่งผลต่อการค้ากุ้งทั่วโลก
“ผู้นำเข้ามีแนวโน้มที่จะเผชิญต่อสภาพแวดล้อมด้านกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นมิตรมากขึ้น และเป็นไปได้ที่จะถูกผลักดันเข้าสู่การตรวจสอบของ UDSDA อย่างกรณีแคชฟิช” เวทีการประชุมให้ข้อสรุป

แปลและเรียบเรียงจาก https://www.seafoodsource.com/…/2017-declared-the-year-of-h…
 โดย Vinij Tansakul
 18-04-2017



"Ecuador Shrimp" Brand

22-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน
                 วันนี้มาพบกับบทความแปลของท่านอาจารย์วินิจ ตันสกุล จากfacebook ที่แปลไว้ในวันครอบครัวช่วงสงกรานต์นะครับ กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลเอกวาดอร์เรื่องการสร้างแบรนด์ เพื่อให้คนได้รู้จักกุ้งเอกวาดอร์ได้มากขึ้น ติดตามอ่านได้นะครับ

รัฐบาลและผู้ผลิตเร่งพัฒนาแบรนด์ “กุ้งเอกวาดอร์”
                   El Comercio รายงานว่า รัฐบาลเอกวาดอร์ร่วมกับผู้ผลิตวางแผนที่จะสร้างแบรนด์ “กุ้งเอกวาดอร์ (Ecuador shrimp)” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลผลิตกุ้งทั่วโลก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศของเอกวาดอร์ Juan Carlos Cassinnelli และประธานสภาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งชาติ (CNA) Jose Antonio Camposano ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกันอย่างเปิดเผยในเมือง Guayaquil เพื่อร่วมกันสร้างแบรนด์กุ้งเอกวาดอร์
กระทรวงการค้าต่างประเทศจะลงทุนมูลค่า 110,000 ดอลลาร์ในขณะที่ CNA จะลงทุนเพิ่มอีก 690,000 ดอลลาร์ รวมเป็น 800,000 ดอลลาร์ (28 ล้านบาท) ในโครงการนี้ ซึ่งจะส่งเสริมการสร้างแบรนด์กุ้งเอกวาดอร์เป็นเวลาหนึ่งปี
"มันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการสร้างแบรนด์กุ้งเอกวาดอร์ เพื่อให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน และไม่มุ่งเน้นไปที่ราคาเหมือนกับผู้ส่งออกบางประเทศยังทำกันอยู่" Camposano กล่าวชี้ว่า ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาปริมาณการส่งออกกุ้งของเอกวาดอร์เติบโตเพิ่มขึ้นในอัตรา 12-15% ต่อปี และกุ้งของเอกวาดอร์คิดเป็นสัดส่วน 11% ของตลาดโลก
ในปี 2016 เอกวาดอร์ส่งออกกุ้งมูลค่า 800 ล้านปอนด์มูลค่า 562 ล้านดอลลาร์ ในปี 2017 ถึงตอนนี้การส่งออกกุ้งของเอกวาดอร์มีมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์
Cassinnelli กล่าวว่า เอกวาดอร์ส่งออกกุ้งไปยังสหภาพยุโรปในเดือนมกราคม 2017 เพิ่มขึ้น 15% สูงกว่าปีก่อนเมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันเป็นรายปี
Camposano กำลังจะเดินทางไปบราซิลในวันจันทร์หน้า เพื่อผลักดันการเปิดเสรีการค้ากุ้งในประเทศซึ่งรัฐบาลได้สัญญาไว้ แต่ได้รับการคัดค้านจากสมาคมอุตสาหกรรมกุ้งท้องถิ่น

By  Vinij Tansakul 
14-04-2017




19/4/60

การใช้ขี้ไก่ไข่หมักจุลินทรีย์

19-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน

                 วันนี้ผมขอพูดถึงประเด็นการใช้ขี้ไก่ไข่หมักด้วยจุลินทรีย์แล้วสาดลงกลางบ่อเพื่อเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ทั้งดีและร้าย ประเด็นนี้ผมได้คุยกับพี่สุธรรม ชื่นบานซึ่งตอนนี้เลี้ยงกุ้งอยู่ในพื้นที่อ.หลังสวน จ.ชุมพร และเครือข่ายอยู่หลายสิบบ่อ ในหลายพื้นที่ ก็คุยกันตั้งแต่เรื่องการเตรียมบ่อไปจนถึงวิธีการจัดการต่างๆในบ่อโดยที่ใช้ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องปูพลาสติค (PE) ไม่ใช้ยาฆ่าเชื้ออย่างบ้าคลั่ง พยายามจัดทุกอย่างเข้าไปหาธรรมชาติ ทุกคนไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้ แต่เราจะอยู่กับธรรมชาติได้อย่างไร นั่นก็คือเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาตินั่นเอง
                  ผมไปดูแล้วที่ประทับใจก็คือการที่แทบไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อเลย เตรียมน้ำโดยการสูบน้ำเข้าบ่อใช้กากชาฆ่าปลา แล้วเริ่มเพาะจุลินทรีย์ เพาะปุ๋ยขี้ไก่ไข่กับจุลินทรีย์ สาดลงบ่อ ทำสีน้ำและสร้างอาหารธรรมชาติด้วยวิธีที่เราเคยทำมาเมื่อ 10-20 ปีก่อน เน้นการเพาะเชื้อ วัดค่าน้ำ ใส่ขี้ไก่หมักกับจุลินทรีย์ ให้รำในช่วงแรก เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ มันดูง่ายๆและเลี้ยงได้ผลเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก
                 บังเอิญเมื่อวานผมคุยกับโกน้อย ที่ภูเก็ต ร่วมชั่วโมงทางโทรศัพท์ ถึงประเด็นต่างๆที่ทำได้ง่ายๆ ซึ่งโกน้อยก็บอกว่าใช่ครับ ชุดนี้ที่ลงไปใช้วิธีเดิมๆตั้งแต่สมัยกุ้งดำเลย ไม่ใช้คลอรีน ไม่ฆ่าทุกอย่างให้หมดแล้วค่อยเริ่มสร้างใหม่ ซึ่งการทำแบบนี้เราฝืนธรรมชาติ โกน้อยบอกปีที่แล้วพยายามทำทุกอย่างในบ่อให้สะอาด ฆ่าทุกอย่างแต่สุดท้ายฆ่าเราด้วย เสียหายไปหลายบ่อ ยิ่งฆ่า ยิ่งทำลาย โรคยิ่งมา มาปีนี้โกน้อยบอกเริ่มใหม่ ไม่ฆ่าแบบบ้าคลั่ง เน้นธรรมชาติ สร้างอาหารพื้นบ่อ ทำสีน้ำให้ขึ้น ปรากฏว่าการทำแบบนี้สีน้ำไม่ล้ม จากที่เมื่อก่อนลงกุ้ง 5-7 วันสีน้ำล้ม แล้วทำให้ขึ้นก็ยาก ตอนนี้กุ้งจะเดือนแล้วสีน้ำยังสวย กุ้งยังสวยและสนใจเรื่อง ขี้ไก่ไข่หมักด้วยจุลินทรีย์ สาดกลางบ่อให้ผมช่วยหน่อย
                 ผมก็เลยตัดสินใจเขียนลง blog เลยเพื่อให้ทุกคนที่ติดตามได้อ่านกันครับ


  1.  น้ำจืด                     200  ลิตร
  2.  ขี้ไก่ไข่                      1  กระสอบ (ประมาณ 25 กก)
  3. จุลินทรีย์                    1  กก.(ปม.1 หรือEM หรืออะไรก็ได้)
  4.  กากน้ำตาล               2  กก.
  5.  ปุ๋ย 0-0-60                 3  กก
  6.  ปุ๋ย 18-46-0               2  กก
  7.  ตีด้วยปั๊มลมให้กระจายอย่างทั่วถึง ถ้าใช้วิธีการคน ต้องคนบ่อยๆนะครับ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
  8.  จุดสำคัญเลยครับของพี่เค้าให้สาดในพื้นที่กลางบ่อ ในแนวเลนนะครับ ตามรูปนะครับ พี่เค้าให้เหตุผลว่าเพราะเราจะเอาอาหารไปให้พวกเชื้อทั้งหลายทั้งดีและเชื้อร้าย (เชื้อดีที่ช่วยย่อยขี้กุ้งและเลนกลางบ่อ รวมทั้งตัวร้ายที่มันก่อโรค ให้อยู่ในพื้นที่บริเวณนี้) เพื่อจำกัดพื้นที่ ว่าถ้ามันมีอาหารกินมันก็ไม่ออกมายุ่งกับอาหารกุ้งในพื้นที่สาดอาหาร ทำให้กุ้งไม่กินเชื้อโรคเข้าไป 
ก็อย่างที่บอกนะครับ พี่เค้าเพาะเชื้อ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ซึ่งค่อนข้างถี่ ถ้ามีเชื้อเขียวเยอะก็เพาะจุลินทรีย์เสริมลงไป ซึ่งตัวจุลินทรีย์ที่เเพาะนี้สาดทั่วบ่อเลยครับ แต่ถ้าเชื้อมากเกิน พี่เค้าก็ใช้ไอโอดีนน้ำ 1-1.5 ลิตร/ไร่ ฆ่าเชื้อผ่านไป 12 ชั่วโมงลงจุลินทรีย์ที่เพาะไว้ตามลงไป

ทำไมถึงต้องใช่ขี้ไก่ไข่ เพราะในขี้ไก่ไข่มีสาร Fructooligosaccharide หรือ FOS ซึ่งเป็น Pre-Biotic ที่ช่วยในการเบียดเชื้อร้ายและส่งเสริม เสริมสร้างเชื้อดีและช่วยในการกระตุ้นภูมิ (ชนัญฑิตา ไชยโตและครรชิต, 2014)
              สังเกตุยังไงว่าขี้ไก่หมักพร้อมใช้ ง่ายๆเลยครับต้องไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า ถ้าเหม็นเน่าแสดงว่าออกซิเจนที่ใช้เป่าไม่พอหรือคนไม่ทั่วถึงครับ ยังใช้ไม่ได้นะครับ ที่ใช้ได้คือต้องไม่เหม็นขี้ไก่ครับ

พบกันใหม่ครับ