1/4/60

มาตรา 9 ตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาสวล. 2535 ตอนที่ 2


01-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน
     
                วันนี้เรามาพูดกันต่อถึงเรื่องมาตรา 9 นะครับ ตอนที่แล้วผมพูดถึงเนื้อหาของมาตรา 9 และรวมถึงคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2541 ลงวันที่ 22 กรกรฎาคม 2541 ไปแล้ว วันนี้จะมาลำดับเหตุการณ์ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ นั่นคือได้มีเพื่อนของเราโดน จนท. จับไปและส่งฟ้องศาล ซึ่งระหว่างนั้นก็มีการฟ้องศาลรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มครองชั่วคราว และเห็นแย้งว่าคำสั่งทางการปกครองที่ผวจ. ออกตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามรูปด้านล่างนะครับ












                  ผู้เลี้ยงกุ้งที่โดนจับในจังหวัดพระนครศรีอยุทธยาได้ยื่นคำร้องโต้แย้งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2541 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 และคำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ 1649/2541 ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 9 อันเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดี ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 มาตรา 50 และ มาตรา 60 และใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6

                เช่นเดียวกับผู้เลี้ยงกุ้งที่โดนจับในจังหวัดสุพรรณบุรีก็ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2541 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 และคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ 1/2541 ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 9 อันเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดี ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 มาตรา 50 และ มาตรา 60 และใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6

ผลสรุปออกมาว่า ศาลรัฐธรรมนูญ วินิฉัยให้ยกคำร้องทั้งสองจังหวัด ลงวันที่ 4 เมษายน 2543 ตามคำวินิจฉัยที่  14-15/2543 และ 16-19/2543

หากจะเข้าไปอ่านรายละเอียด เข้าไปติดตามได้ในลิงค์ข้างล่างครับ

http://elib.coj.go.th/Ebook/data/concourt/2543-14-15.pdf

http://elib.coj.go.th/Ebook/data/concourt/2543-16-19.pdf


นอกจากนี้ยังมีกรณีที่โดนจับแแล้วถูกสั่งฟ้องจนสุดท้ายศาลฎีกาได้ตัดสินเรียบร้อยแล้วในกรณีนี้





















เป็นอันสรุปว่าศาลฏีกา พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ คือ

               ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 9, 98 วรรคหนึ่ง จำคุก 9 เดือน และปรับ 60,000 บาท คำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 เดือน และปรับ 40,000 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดี อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 คำขออื่นให้ยก








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น