12/4/60

ทิศทางพ่อ-แม่พันธุ์กุ้งขาวจะไปทางไหน???

12-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน

                 วันนี้ผมไปเจอบทความแปลของท่านอาจารย์วินิจ ตันสกุล เรื่องเกี่ยวกับพ่อ-แม่พันธุ์ของกุ้งขาวเรามาอ่านดูกันครับว่ามันจะไปทิศทางไหน ปัญหาเดิมๆที่เราเจอวนไปเลยครับท่าน
SPF: Inbreeding, ไม่ทนโรค, มีตัวคดงอ, แคระเกร็น........
SPR: ต้านบางโรค แต่ไม่โต.......
APE:จะเกิดขึ้นจริงเมื่อไหร่

               สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องท้าทายอุตสาหกรรมกุ้งทั้งโลกเลยทีเดียวครับ


              ความคิดเห็นของ Daniel Gruenberg ต่ออุตสาหกรรมเพาะพันธุ์กุ้ง    Daniel Gruenberg (daniel@acquestra.com) ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มเมลสำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของโลกเมื่อช่วงเดือนมีค-เมย. 2017 ว่า เมื่อไม่นานมานี้ ทุกแห่งที่มีการเลี้ยงกุ้งในระดับกลางถึงใหญ่ในลาตินอเมริกาต่างมีโปรแกรมเพาะพันธุ์กุ้ง แต่วันนี้เป็นยังไงกันบ้าง พบว่าส่วนใหญ่ล้มเหลว ความสำเร็จของโปรแกรมเพาะพันธุ์กุ้งไม่ใช่เรื่องง่าย การจะทำให้ดี
  1. ต้องใช้เวลามาก 
  2. ใช้เงินจำนวนมากด้วย
  3. ต้องมีพื้นที่มาก
  4. ต้องมีพนักงานที่มีคุณภาพและค่าจ้างแพง
  5. ความสามารถในการทำให้สู้กับโรคได้ (ฮาวายไม่สามารถทำได้ ดูเพิ่มเติมข้างล่าง)
  6. โปรแกรมการทำเครื่องหมายโมเลกุล (molecular marking program) ต้องทำให้ครอบคลุมและมีค่าใช้จ่ายสูง
  7. นักพันธุศาสตร์กุ้ง (shrimp geneticist)
                  CP Food ใช้ Roger Doyle (คนที่เคยบอกเกษตรกรและนักปรับปรุงพันธุ์กุ้งว่า การผสมเลือดชิดของกุ้งไม่ใช่สาเหตุเกิดโรคและแคระแกรน เพราะอยู่ในระดับที่ควบคุมได้??-ผู้แปล) SyAqua ใช้ Thomas Gitterle และ Blue Genetics ใชับริษัทด้านพันธุกรรมของฝรั่งเศสที่มีฐานข้อมูลมากมาย ส่วนที่เหลือของโปรแกรมปรับปรุงพันธุ์กุ้งทั่วโลกกำลังประสบปัญหานั้น ผมทราบว่ามีความสำเร็จบ้างแต่ผมกำลังพูดถึงความสำเร็จระดับนานาชาติขนาดใหญ่ เช่น การพัฒนาสายพันธุ์กุ้งขาวแวนาไมที่ปลอดโรคเฉพาะ (SPF-Penaeus vannamei)
                ผลผลิตกุ้งเลี้ยงของจีนลดต่ำลงจาก 2 ล้านตันต่อปีเหลือ 6 แสนตันในวันนี้ อุตสาหกรรมลดขนาดลงเกือบ 70% และยังมีผู้คนพูดถึงว่าจะใช้พ่อแม่พันธุ์กุ้ง SPF ของฮาวายมาช่วยสร้างอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งของพวกเขา จีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่เลี้ยงกุ้งซับซ้อนมากประเทศหนึ่ง แม้ว่าจีนได้ลงทุนไป 30 ล้านดอลลาร์ในบริษัท Texas Primo Broodstock Inc. ก็ตาม แต่ความสำเร็จด้านผลิตพ่อแม่พันธุ์ยังจำกัดจนถึงตอนนี้


               ยุคของกุ้ง SPF ของฮาวายใกล้จะหมดลงแล้ว ในจีนพบว่าพ่อม่พันธุ์กุ้งฮาวายไม่สามารถแข่งขันกับพ่อแม่พัธุ์กุ้งจากแหล่งอื่นได้ เพราะว่าลูกกุ้งที่ได้อ่อนแอและติดเชื้อง่าย ผมไม่คิดว่าพ่อแม่พันธุ์กุ้งฮาวายมีอัลลีลที่ถูกต้อง (right alleles) หรือความแตกต่างของยีน การคัดเลือกแบบฮาวายมีช่วงของอัลลีลแคบมากในช่วงเริ่มต้นของโปรแกรมเพาะพันธุ์ สัตว์ที่ผลิตยีนร่วมกันหลายหลายแสนชุดในแต่ละเจเนอเรชั่น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีอัลลีลอย่างเพียงพอต่อการเริ่มต้น โอกาสสำหรับยีนที่น่าสนใจเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคแต่พวกมันไม่ป่วย
                พ่อแม่พันธุ์กุ้งต้านโรคเฉพาะ (SPR) และลูกกุ้งกำลังเข้ามาแทนที่ตลาด แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะทำ SPR ได้อย่างเหมาะสมในฮาวาย เนื่องจากมีกฎระเบียบจำกัดหรือห้ามการนำเข้ากุ้งที่เป็นโรค กฎระเบียบระหว่างประเทศที่คุณควรตระหนักอย่างมากเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้าพ่อแม่พันธุ์กุ้งที่กำหนดขึ้นโดยองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization for Animal Health หรือ OIE) จะต้องไม่มีการจัดส่งพ่อแม่พันธุ์กุ้งใดๆ ระหว่างประเทศ ถ้ากุ้งนั้นไม่ใช่ SPF สำหรับโรคที่ OIE ระบุไว้ทั้งหมด
                   พ่อแม่พันธุ์กุ้งจากไทยกำลังกลายเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในจีน และส่วนแบ่งตลาดของกุ้งฮาวายกำลังหดตัวลง อินโดนีเซียดูเหมือนจะไปได้ดีกับกุ้งสายพันธุ์ฮาวาย แต่เป็นเรื่องยากที่จะหาตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอื่นๆ ในปัจจุบัน ในลาตินอเมริกา ผู้เพาะพันธุ์กุ้งได้คิดหาวิธีสร้างพ่อแม่พันธุ์ต้านทานโรคของเชื้อที่ก่อโรคในกุ้งทั้งหมด (all pathogen exposed หรือ APE) ขณะที่ยังคงสถานะความเป็น SPF ไว้ เพื่อที่สามารถซื้อขายได้ตามกฎหมายในตลาดระหว่างประเทศ
                 Daniel บอกในช่วงท้ายว่า ผมกำลังเขียนเพิ่มเติมถึงปัญหาที่เกิดทั่วโลกในอุตสาหกรรมกุ้ง และงานวิจัยสำคัญบางเรื่องที่เราได้ทำไปแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาในอุตสาหกรรมกุ้งนั้นเป็นปัญหาด้านมานุษยวิทยา (คนเป็นสาเหตุของปัญหา)



โดย Vinij Tansakul
08-04-2017






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น