19/4/60

ดินกรด กับการเลี้ยงกุ้ง

19-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน

                 สวัสดีกันหลังวันสงกรานต์ ซึ่งเป็นวันปีใหม่ไทย หวังว่าเพื่อนๆคงมีความสุขกับช่วงเทศกาลสงกรานต์กันนะครับ วันนี้ผมจะมาคุยกันเรื่องดินกรดและการใช้ปูนนะครับ

ดินกรดคืออะไร 

                  ดินกรดคือดินที่มีค่าความเป็นกรด เป็นด่างหรือ pH ต่ำกว่า 7.0 ดินกรดแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

  • ดินกรดจัด (Acid Sulfate Soil)   เป็นดินทีเกิดจากการตกตะกอนของน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อย ที่มีสารประกอบของกำมะถันซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดกำมะถันตามกระบวนการธรรมชาติสะสมในชั้นหน้าตัดของดินโดยจะเป็นดินที่มีความเป็นกรดสูง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างรุนแรง
  • ดินอินทรีย์ หรือ"ดินพรุ"  เป็นพื้นที่พรุหรือพื้นที่ดินอินทรีย์นั้น ตามธรรมชาติจะเป็นที่ลุ่มน้ำที่มีน้ำขังอยู่ตลอดทั้งปีซึ่งเกิดจากการทับถมของพืชต่าง ๆ ที่เปื่อยผุพังเป็นชั้นหนาตั้งแต่ 40 เซนติเมตร ไปจนถึงมีความหนาประมาณ 10 เมตร มี่การสลายตัวอย่างช้าๆทำให้กรดอินทรีย์ถูกปล่อยออกมาสะสมอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง ดินชนิดนี้จะมีปริมาณดินเหนียวต่ำ และมีปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อพืชอยู่น้อยดินชนิดนี้ที่พบในบริเวณที่ราบลุ่มตามชายทะเลจะมีดินเปรี้ยวจัดแฝงอยู่ในชั้นล่างของดิน ถ้ามีการระบายน้ำออกจากพื้นที่บริเวณพื้นที่พรุจนถึงระดับของดินเปรี้ยวจัดแฝงอยู่จะก่อให้ปัญหาใหม่ตามมาคือจะเกิดเป็นดินกรดกำมะถันขึ้น
  • ดินกรด หรือดินกรดทั่วไป  เป็นดินเก่าแก่อายุมากซึ่งพบได้โดยทั่วไป ดินกรดเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่เขตร้อนชื้นมีฝนตกชุก ดินที่ผ่านกระบวนการชะล้างหรือดินที่ถูกใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเนื่องจากดินเหนียวและอินทรีย์วันถุถูกชะล้างไปด้วยมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์โดยทั่วๆ ไปของดินต่ำจนถึงต่ำมาก

เมื่อดินมีค่าความเป็นกรดสูงจะทำให้แร่ธาตุตัวอื่นๆในดินนั้นละลายออกมาได้น้อย ตามตาราง
ซึ่งจะเห็นได้ว่ายิ่งค่าความเป็นกรดในดินสูง ยิ่งทำให้ธาตุเหล็ก (Fe+) ออกมาได่ดีและแร่ธาตุสำคัญอื่นที่จำเป็นต่อพืชและแพลงค์ตอนนั้นละลายได้น้อยลง จึงเป็นสาเหตุของการทำสีน้ำยากและทำไมในดินกรดจัดเราถึงเห็นคราบเหลืองของสนิมเหล็กมากมายนั่นก็เพราะว่าเกิดจากการออกซิเดชั่น ไฟไรต์ (FeS2) เป็นจาโรไซต์ (jarosite) เมื่อทำปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสจะ ได้ goethite (FeOOH) และกรดกำมะถัน ทำให้เกิดกรดในดินขึ้น
การจำแนกและปฏิกิริยาของสภาพกรดในดินเป็นดังรูปด้านบน

การแก้ดินกรด
   

  1.  ด้วยวิธีธรรมชาติ แต่ใช้เวลานาน นั่นคือปล่อยน้ำเข้า-ออก เพื่อชะล้างกรดหน้าดินออกไป และต้องคราดพื้นหน้าสนิมอยู่บ่อยๆเพื่อให้น้ำสัมผัสผิวดิน
  2. ใช้ปูนเพื่อปรับสภาพ pH ซึ่งควรจะต้องคำนวณปริมาณปูนที่จะใช้
  3. การใส่ MnO2    เป็นการช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กได้
  4. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต เพื่อช่วยในการจับกับเหล็กและอลูมิเนียมซึ่งช่วยลดความเป็นพิษลงมาได้
  5. เมื่อได้ pHตามต้องการแล้วต้องรักษาระดับน้ำไว้ให้ดี เพราะถ้าน้ำลด ผิวหน้าดินโดนอากาศเมื่อไหร่กรดก็จะมาอีก
  6. บ่อที่ดินเป็นกรดควรจะต้องเตรียมบ่อพร้อมๆกันทีเดียวและต้องพิถีพิถันเรื่องคันบ่อให้มาก อย่าให้คันรั่วซึมได้ ไม่งั้นระหว่างการเลี้ยงจะปวดหัวมากเมื่อเราต้องการลดน้ำลงบางบ่อ น้ำก็จะซึมมาจากบ่อที่ระดับน้ำสูงกว่าทำให้ pH ของน้ำในบ่อแกว่ง อาจจะทำให้สีน้ำล้มได้เลยทีเดียว
  7. ถ้าเป็นช่วงที่ฝนตกบ่อยๆ ให้ละลายปูนขาวหรือปูนมาร์ลสาดตามคันบ่อเหนือระดับน้ำจะช่วยลดความเป็นกรดลงได้
  8. ควรจะต้องสต็อคปูนขาว ปูนมาร์ลและปูนโดโลไมท์เอาไว้เยอะหน่อยเผื่อฉุกเฉิน และควรวัดคุณภาพน้ำทุกวัน ต้องคอยสังเกตุ pH เป็นพิเศษเพราะจะลดลงไวแต่ทำให้ขึ้นช้ามาก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น