22/4/60

“Year of Happy Shrimp”

22-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน

                 วันนี้ผมคัดลอกบทความแปลของท่านอาจารย์วินิจ  ตันสกุล จาก facebook ของท่านอาจารย์ วันนี้พูดถึงสถานการณ์กุ้งโลกที่ปีนี้ทุกคนน่าจะมีความสุข กับทั้งราคาและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจนน่าจะพูดได้ว่าเป็น "Year of Happy Shrimp" เชิญอ่านบทความกันเลยครับ

ที่ประชุม Global Seafood Market Conference (GSMC) แถลงว่า ปี 2017 เป็น
“Year of Happy Shrimp”

ภาคส่วนการเลี้ยงกุ้งมีการขยายตัวมากในปีนี้ ตามรายงานจากเวทีการประชุมผู้เชี่ยวชาญที่สถาบันประมงแห่งชาติในการประชุม GSMC 2017 ระบุให้ปีนี้เป็น “Year of Happy Shrimp”
เอกวาดอร์และไทยถูกรับรู้ว่ามีผลผลิตกุ้งเพิ่มขึ้น และมีความต้องการกุ้งเพิ่มมากขึ้นจากจีน ส่งผลให้ตลาดกุ้งทั่วโลกขยายตัว
เวทีการประชุมระบุว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่พอใจและสะดวกต่อการสั่งซื้อกุ้งที่ร้านอาหารโปรดของพวกเขา และจัดเตรียมกุ้งไปทำอาหารที่บ้าน ในเวลาเดียวกันอาหารทะเลพรีเมี่ยมอื่นๆ เช่น ปลาแซลมอล ปูหิมะ ปลากะพงและปลามาฮิ(ปลาอีโต้มอญ)จากชิลี กำลังพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาด เนื่องจากราคาที่แพงขึ้น ปริมาณที่มีอย่างจำกัด หรือโควตาที่ลดลง
ในสหรัฐอเมริกา ความต้องการกุ้งยังดีอยู่ตลอด ปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% จาก 295 ล้านปอนด์เป็น 330 ล้านปอนด์ สำหรับช่วง 52 สัปดาห์ที่สิ้นสุดลงเมื่อเดือนกย.2016 ผู้บริโภคได้รับผลดีสำหรับความภักดีในสินค้ากุ้ง โดยราคาของกุ้งลดลงมากกว่า 6% จาก 8 ดอลลาร์ (7.50 ยูโร)ต่อปอนด์ มาอยู่ที่ต่ำกว่า 7.50 ดอลลาร์ (7.20 ยูโร)ต่อปอนด์ ประมาณว่าราว 47% ของครัวเรือนอเมริกันได้ซื้อกุ้งในปี 2016 เพิ่มมากขึ้นกว่าในปีก่อนหน้า และการนำเข้ากุ้งของสหรัฐพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2016
ผลผลิตกุ้งเลี้ยงในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 2.8% ในปี 2016 และถุกคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นใน percentage point ในปี 2017 ขณะที่การบริโภคกุ้งในญี่ปุ่นและยุโรปได้ลดลงบ้างเล็กน้อยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การลดลงไม่มากกว่าการทำให้เพิ่มขึ้นจากความต้องการกุ้งที่ทะยานขึ้นสูงในจีน จีนขยับจากมีส่วนแบ่งการตลาด 15% ในปี 2011 เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม 30% ในปี 2016
ผู้ร่วมประชุมท่านหนึ่งบนเวทีการประชุมกล่าวว่า “#ตอนนี้จีนเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในตลาดไปแล้ว”
การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐจะช่วยอุตสาหกรรมกุ้งในปี 2017 ได้ ขณะที่ยังมีความต้องการกุ้งอย่างแข็งขันต่อเนื่องในยุโรป เอเชีย และโซนอเมริกา โดยบราซิลมีศักยภาพด้านบทบาทมากขึ้นในการบริโภคกุ้ง
อย่างไรก็ตาม บนเวทีการประชุมได้เตือนถ้ามีปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบต่ออุปทานหรือปริมาณผลผลิตกุ้ง ผู้ซื้อจะมีกำไรเล็กน้อยสำหรับความคลาดเคลื่อน ดังนั้นการเพิ่มต้นทุนการซื้อหรือเพิ่มต้นทุนนำเข้าดูคล้ายกับเกิดผ่านกันไปอย่างรวดเร็ว
บนเวทีได้ให้ระดับหรือเรท #ด้านความไม่มั่นคงทางการเมือง #เป็นความเสี่ยงสูงสุดสำหรับอุตสาหกรรมกุ้งในปี_2017 จากการที่สภาคองเกรสของสหรัฐ และปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกแถลงการณ์ลงนามด้านนโยบายคุ้มครองที่อาจส่งผลต่อการค้ากุ้งทั่วโลก
“ผู้นำเข้ามีแนวโน้มที่จะเผชิญต่อสภาพแวดล้อมด้านกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นมิตรมากขึ้น และเป็นไปได้ที่จะถูกผลักดันเข้าสู่การตรวจสอบของ UDSDA อย่างกรณีแคชฟิช” เวทีการประชุมให้ข้อสรุป

แปลและเรียบเรียงจาก https://www.seafoodsource.com/…/2017-declared-the-year-of-h…
 โดย Vinij Tansakul
 18-04-2017



"Ecuador Shrimp" Brand

22-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน
                 วันนี้มาพบกับบทความแปลของท่านอาจารย์วินิจ ตันสกุล จากfacebook ที่แปลไว้ในวันครอบครัวช่วงสงกรานต์นะครับ กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลเอกวาดอร์เรื่องการสร้างแบรนด์ เพื่อให้คนได้รู้จักกุ้งเอกวาดอร์ได้มากขึ้น ติดตามอ่านได้นะครับ

รัฐบาลและผู้ผลิตเร่งพัฒนาแบรนด์ “กุ้งเอกวาดอร์”
                   El Comercio รายงานว่า รัฐบาลเอกวาดอร์ร่วมกับผู้ผลิตวางแผนที่จะสร้างแบรนด์ “กุ้งเอกวาดอร์ (Ecuador shrimp)” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลผลิตกุ้งทั่วโลก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศของเอกวาดอร์ Juan Carlos Cassinnelli และประธานสภาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งชาติ (CNA) Jose Antonio Camposano ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกันอย่างเปิดเผยในเมือง Guayaquil เพื่อร่วมกันสร้างแบรนด์กุ้งเอกวาดอร์
กระทรวงการค้าต่างประเทศจะลงทุนมูลค่า 110,000 ดอลลาร์ในขณะที่ CNA จะลงทุนเพิ่มอีก 690,000 ดอลลาร์ รวมเป็น 800,000 ดอลลาร์ (28 ล้านบาท) ในโครงการนี้ ซึ่งจะส่งเสริมการสร้างแบรนด์กุ้งเอกวาดอร์เป็นเวลาหนึ่งปี
"มันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการสร้างแบรนด์กุ้งเอกวาดอร์ เพื่อให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน และไม่มุ่งเน้นไปที่ราคาเหมือนกับผู้ส่งออกบางประเทศยังทำกันอยู่" Camposano กล่าวชี้ว่า ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาปริมาณการส่งออกกุ้งของเอกวาดอร์เติบโตเพิ่มขึ้นในอัตรา 12-15% ต่อปี และกุ้งของเอกวาดอร์คิดเป็นสัดส่วน 11% ของตลาดโลก
ในปี 2016 เอกวาดอร์ส่งออกกุ้งมูลค่า 800 ล้านปอนด์มูลค่า 562 ล้านดอลลาร์ ในปี 2017 ถึงตอนนี้การส่งออกกุ้งของเอกวาดอร์มีมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์
Cassinnelli กล่าวว่า เอกวาดอร์ส่งออกกุ้งไปยังสหภาพยุโรปในเดือนมกราคม 2017 เพิ่มขึ้น 15% สูงกว่าปีก่อนเมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันเป็นรายปี
Camposano กำลังจะเดินทางไปบราซิลในวันจันทร์หน้า เพื่อผลักดันการเปิดเสรีการค้ากุ้งในประเทศซึ่งรัฐบาลได้สัญญาไว้ แต่ได้รับการคัดค้านจากสมาคมอุตสาหกรรมกุ้งท้องถิ่น

By  Vinij Tansakul 
14-04-2017




19/4/60

การใช้ขี้ไก่ไข่หมักจุลินทรีย์

19-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน

                 วันนี้ผมขอพูดถึงประเด็นการใช้ขี้ไก่ไข่หมักด้วยจุลินทรีย์แล้วสาดลงกลางบ่อเพื่อเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ทั้งดีและร้าย ประเด็นนี้ผมได้คุยกับพี่สุธรรม ชื่นบานซึ่งตอนนี้เลี้ยงกุ้งอยู่ในพื้นที่อ.หลังสวน จ.ชุมพร และเครือข่ายอยู่หลายสิบบ่อ ในหลายพื้นที่ ก็คุยกันตั้งแต่เรื่องการเตรียมบ่อไปจนถึงวิธีการจัดการต่างๆในบ่อโดยที่ใช้ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องปูพลาสติค (PE) ไม่ใช้ยาฆ่าเชื้ออย่างบ้าคลั่ง พยายามจัดทุกอย่างเข้าไปหาธรรมชาติ ทุกคนไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้ แต่เราจะอยู่กับธรรมชาติได้อย่างไร นั่นก็คือเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาตินั่นเอง
                  ผมไปดูแล้วที่ประทับใจก็คือการที่แทบไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อเลย เตรียมน้ำโดยการสูบน้ำเข้าบ่อใช้กากชาฆ่าปลา แล้วเริ่มเพาะจุลินทรีย์ เพาะปุ๋ยขี้ไก่ไข่กับจุลินทรีย์ สาดลงบ่อ ทำสีน้ำและสร้างอาหารธรรมชาติด้วยวิธีที่เราเคยทำมาเมื่อ 10-20 ปีก่อน เน้นการเพาะเชื้อ วัดค่าน้ำ ใส่ขี้ไก่หมักกับจุลินทรีย์ ให้รำในช่วงแรก เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ มันดูง่ายๆและเลี้ยงได้ผลเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก
                 บังเอิญเมื่อวานผมคุยกับโกน้อย ที่ภูเก็ต ร่วมชั่วโมงทางโทรศัพท์ ถึงประเด็นต่างๆที่ทำได้ง่ายๆ ซึ่งโกน้อยก็บอกว่าใช่ครับ ชุดนี้ที่ลงไปใช้วิธีเดิมๆตั้งแต่สมัยกุ้งดำเลย ไม่ใช้คลอรีน ไม่ฆ่าทุกอย่างให้หมดแล้วค่อยเริ่มสร้างใหม่ ซึ่งการทำแบบนี้เราฝืนธรรมชาติ โกน้อยบอกปีที่แล้วพยายามทำทุกอย่างในบ่อให้สะอาด ฆ่าทุกอย่างแต่สุดท้ายฆ่าเราด้วย เสียหายไปหลายบ่อ ยิ่งฆ่า ยิ่งทำลาย โรคยิ่งมา มาปีนี้โกน้อยบอกเริ่มใหม่ ไม่ฆ่าแบบบ้าคลั่ง เน้นธรรมชาติ สร้างอาหารพื้นบ่อ ทำสีน้ำให้ขึ้น ปรากฏว่าการทำแบบนี้สีน้ำไม่ล้ม จากที่เมื่อก่อนลงกุ้ง 5-7 วันสีน้ำล้ม แล้วทำให้ขึ้นก็ยาก ตอนนี้กุ้งจะเดือนแล้วสีน้ำยังสวย กุ้งยังสวยและสนใจเรื่อง ขี้ไก่ไข่หมักด้วยจุลินทรีย์ สาดกลางบ่อให้ผมช่วยหน่อย
                 ผมก็เลยตัดสินใจเขียนลง blog เลยเพื่อให้ทุกคนที่ติดตามได้อ่านกันครับ


  1.  น้ำจืด                     200  ลิตร
  2.  ขี้ไก่ไข่                      1  กระสอบ (ประมาณ 25 กก)
  3. จุลินทรีย์                    1  กก.(ปม.1 หรือEM หรืออะไรก็ได้)
  4.  กากน้ำตาล               2  กก.
  5.  ปุ๋ย 0-0-60                 3  กก
  6.  ปุ๋ย 18-46-0               2  กก
  7.  ตีด้วยปั๊มลมให้กระจายอย่างทั่วถึง ถ้าใช้วิธีการคน ต้องคนบ่อยๆนะครับ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
  8.  จุดสำคัญเลยครับของพี่เค้าให้สาดในพื้นที่กลางบ่อ ในแนวเลนนะครับ ตามรูปนะครับ พี่เค้าให้เหตุผลว่าเพราะเราจะเอาอาหารไปให้พวกเชื้อทั้งหลายทั้งดีและเชื้อร้าย (เชื้อดีที่ช่วยย่อยขี้กุ้งและเลนกลางบ่อ รวมทั้งตัวร้ายที่มันก่อโรค ให้อยู่ในพื้นที่บริเวณนี้) เพื่อจำกัดพื้นที่ ว่าถ้ามันมีอาหารกินมันก็ไม่ออกมายุ่งกับอาหารกุ้งในพื้นที่สาดอาหาร ทำให้กุ้งไม่กินเชื้อโรคเข้าไป 
ก็อย่างที่บอกนะครับ พี่เค้าเพาะเชื้อ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ซึ่งค่อนข้างถี่ ถ้ามีเชื้อเขียวเยอะก็เพาะจุลินทรีย์เสริมลงไป ซึ่งตัวจุลินทรีย์ที่เเพาะนี้สาดทั่วบ่อเลยครับ แต่ถ้าเชื้อมากเกิน พี่เค้าก็ใช้ไอโอดีนน้ำ 1-1.5 ลิตร/ไร่ ฆ่าเชื้อผ่านไป 12 ชั่วโมงลงจุลินทรีย์ที่เพาะไว้ตามลงไป

ทำไมถึงต้องใช่ขี้ไก่ไข่ เพราะในขี้ไก่ไข่มีสาร Fructooligosaccharide หรือ FOS ซึ่งเป็น Pre-Biotic ที่ช่วยในการเบียดเชื้อร้ายและส่งเสริม เสริมสร้างเชื้อดีและช่วยในการกระตุ้นภูมิ (ชนัญฑิตา ไชยโตและครรชิต, 2014)
              สังเกตุยังไงว่าขี้ไก่หมักพร้อมใช้ ง่ายๆเลยครับต้องไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า ถ้าเหม็นเน่าแสดงว่าออกซิเจนที่ใช้เป่าไม่พอหรือคนไม่ทั่วถึงครับ ยังใช้ไม่ได้นะครับ ที่ใช้ได้คือต้องไม่เหม็นขี้ไก่ครับ

พบกันใหม่ครับ



ดินกรด กับการเลี้ยงกุ้ง

19-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน

                 สวัสดีกันหลังวันสงกรานต์ ซึ่งเป็นวันปีใหม่ไทย หวังว่าเพื่อนๆคงมีความสุขกับช่วงเทศกาลสงกรานต์กันนะครับ วันนี้ผมจะมาคุยกันเรื่องดินกรดและการใช้ปูนนะครับ

ดินกรดคืออะไร 

                  ดินกรดคือดินที่มีค่าความเป็นกรด เป็นด่างหรือ pH ต่ำกว่า 7.0 ดินกรดแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

  • ดินกรดจัด (Acid Sulfate Soil)   เป็นดินทีเกิดจากการตกตะกอนของน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อย ที่มีสารประกอบของกำมะถันซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดกำมะถันตามกระบวนการธรรมชาติสะสมในชั้นหน้าตัดของดินโดยจะเป็นดินที่มีความเป็นกรดสูง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างรุนแรง
  • ดินอินทรีย์ หรือ"ดินพรุ"  เป็นพื้นที่พรุหรือพื้นที่ดินอินทรีย์นั้น ตามธรรมชาติจะเป็นที่ลุ่มน้ำที่มีน้ำขังอยู่ตลอดทั้งปีซึ่งเกิดจากการทับถมของพืชต่าง ๆ ที่เปื่อยผุพังเป็นชั้นหนาตั้งแต่ 40 เซนติเมตร ไปจนถึงมีความหนาประมาณ 10 เมตร มี่การสลายตัวอย่างช้าๆทำให้กรดอินทรีย์ถูกปล่อยออกมาสะสมอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง ดินชนิดนี้จะมีปริมาณดินเหนียวต่ำ และมีปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อพืชอยู่น้อยดินชนิดนี้ที่พบในบริเวณที่ราบลุ่มตามชายทะเลจะมีดินเปรี้ยวจัดแฝงอยู่ในชั้นล่างของดิน ถ้ามีการระบายน้ำออกจากพื้นที่บริเวณพื้นที่พรุจนถึงระดับของดินเปรี้ยวจัดแฝงอยู่จะก่อให้ปัญหาใหม่ตามมาคือจะเกิดเป็นดินกรดกำมะถันขึ้น
  • ดินกรด หรือดินกรดทั่วไป  เป็นดินเก่าแก่อายุมากซึ่งพบได้โดยทั่วไป ดินกรดเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่เขตร้อนชื้นมีฝนตกชุก ดินที่ผ่านกระบวนการชะล้างหรือดินที่ถูกใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเนื่องจากดินเหนียวและอินทรีย์วันถุถูกชะล้างไปด้วยมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์โดยทั่วๆ ไปของดินต่ำจนถึงต่ำมาก

เมื่อดินมีค่าความเป็นกรดสูงจะทำให้แร่ธาตุตัวอื่นๆในดินนั้นละลายออกมาได้น้อย ตามตาราง
ซึ่งจะเห็นได้ว่ายิ่งค่าความเป็นกรดในดินสูง ยิ่งทำให้ธาตุเหล็ก (Fe+) ออกมาได่ดีและแร่ธาตุสำคัญอื่นที่จำเป็นต่อพืชและแพลงค์ตอนนั้นละลายได้น้อยลง จึงเป็นสาเหตุของการทำสีน้ำยากและทำไมในดินกรดจัดเราถึงเห็นคราบเหลืองของสนิมเหล็กมากมายนั่นก็เพราะว่าเกิดจากการออกซิเดชั่น ไฟไรต์ (FeS2) เป็นจาโรไซต์ (jarosite) เมื่อทำปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสจะ ได้ goethite (FeOOH) และกรดกำมะถัน ทำให้เกิดกรดในดินขึ้น
การจำแนกและปฏิกิริยาของสภาพกรดในดินเป็นดังรูปด้านบน

การแก้ดินกรด
   

  1.  ด้วยวิธีธรรมชาติ แต่ใช้เวลานาน นั่นคือปล่อยน้ำเข้า-ออก เพื่อชะล้างกรดหน้าดินออกไป และต้องคราดพื้นหน้าสนิมอยู่บ่อยๆเพื่อให้น้ำสัมผัสผิวดิน
  2. ใช้ปูนเพื่อปรับสภาพ pH ซึ่งควรจะต้องคำนวณปริมาณปูนที่จะใช้
  3. การใส่ MnO2    เป็นการช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กได้
  4. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต เพื่อช่วยในการจับกับเหล็กและอลูมิเนียมซึ่งช่วยลดความเป็นพิษลงมาได้
  5. เมื่อได้ pHตามต้องการแล้วต้องรักษาระดับน้ำไว้ให้ดี เพราะถ้าน้ำลด ผิวหน้าดินโดนอากาศเมื่อไหร่กรดก็จะมาอีก
  6. บ่อที่ดินเป็นกรดควรจะต้องเตรียมบ่อพร้อมๆกันทีเดียวและต้องพิถีพิถันเรื่องคันบ่อให้มาก อย่าให้คันรั่วซึมได้ ไม่งั้นระหว่างการเลี้ยงจะปวดหัวมากเมื่อเราต้องการลดน้ำลงบางบ่อ น้ำก็จะซึมมาจากบ่อที่ระดับน้ำสูงกว่าทำให้ pH ของน้ำในบ่อแกว่ง อาจจะทำให้สีน้ำล้มได้เลยทีเดียว
  7. ถ้าเป็นช่วงที่ฝนตกบ่อยๆ ให้ละลายปูนขาวหรือปูนมาร์ลสาดตามคันบ่อเหนือระดับน้ำจะช่วยลดความเป็นกรดลงได้
  8. ควรจะต้องสต็อคปูนขาว ปูนมาร์ลและปูนโดโลไมท์เอาไว้เยอะหน่อยเผื่อฉุกเฉิน และควรวัดคุณภาพน้ำทุกวัน ต้องคอยสังเกตุ pH เป็นพิเศษเพราะจะลดลงไวแต่ทำให้ขึ้นช้ามาก




12/4/60

ทิศทางพ่อ-แม่พันธุ์กุ้งขาวจะไปทางไหน???

12-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน

                 วันนี้ผมไปเจอบทความแปลของท่านอาจารย์วินิจ ตันสกุล เรื่องเกี่ยวกับพ่อ-แม่พันธุ์ของกุ้งขาวเรามาอ่านดูกันครับว่ามันจะไปทิศทางไหน ปัญหาเดิมๆที่เราเจอวนไปเลยครับท่าน
SPF: Inbreeding, ไม่ทนโรค, มีตัวคดงอ, แคระเกร็น........
SPR: ต้านบางโรค แต่ไม่โต.......
APE:จะเกิดขึ้นจริงเมื่อไหร่

               สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องท้าทายอุตสาหกรรมกุ้งทั้งโลกเลยทีเดียวครับ


              ความคิดเห็นของ Daniel Gruenberg ต่ออุตสาหกรรมเพาะพันธุ์กุ้ง    Daniel Gruenberg (daniel@acquestra.com) ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มเมลสำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของโลกเมื่อช่วงเดือนมีค-เมย. 2017 ว่า เมื่อไม่นานมานี้ ทุกแห่งที่มีการเลี้ยงกุ้งในระดับกลางถึงใหญ่ในลาตินอเมริกาต่างมีโปรแกรมเพาะพันธุ์กุ้ง แต่วันนี้เป็นยังไงกันบ้าง พบว่าส่วนใหญ่ล้มเหลว ความสำเร็จของโปรแกรมเพาะพันธุ์กุ้งไม่ใช่เรื่องง่าย การจะทำให้ดี
  1. ต้องใช้เวลามาก 
  2. ใช้เงินจำนวนมากด้วย
  3. ต้องมีพื้นที่มาก
  4. ต้องมีพนักงานที่มีคุณภาพและค่าจ้างแพง
  5. ความสามารถในการทำให้สู้กับโรคได้ (ฮาวายไม่สามารถทำได้ ดูเพิ่มเติมข้างล่าง)
  6. โปรแกรมการทำเครื่องหมายโมเลกุล (molecular marking program) ต้องทำให้ครอบคลุมและมีค่าใช้จ่ายสูง
  7. นักพันธุศาสตร์กุ้ง (shrimp geneticist)
                  CP Food ใช้ Roger Doyle (คนที่เคยบอกเกษตรกรและนักปรับปรุงพันธุ์กุ้งว่า การผสมเลือดชิดของกุ้งไม่ใช่สาเหตุเกิดโรคและแคระแกรน เพราะอยู่ในระดับที่ควบคุมได้??-ผู้แปล) SyAqua ใช้ Thomas Gitterle และ Blue Genetics ใชับริษัทด้านพันธุกรรมของฝรั่งเศสที่มีฐานข้อมูลมากมาย ส่วนที่เหลือของโปรแกรมปรับปรุงพันธุ์กุ้งทั่วโลกกำลังประสบปัญหานั้น ผมทราบว่ามีความสำเร็จบ้างแต่ผมกำลังพูดถึงความสำเร็จระดับนานาชาติขนาดใหญ่ เช่น การพัฒนาสายพันธุ์กุ้งขาวแวนาไมที่ปลอดโรคเฉพาะ (SPF-Penaeus vannamei)
                ผลผลิตกุ้งเลี้ยงของจีนลดต่ำลงจาก 2 ล้านตันต่อปีเหลือ 6 แสนตันในวันนี้ อุตสาหกรรมลดขนาดลงเกือบ 70% และยังมีผู้คนพูดถึงว่าจะใช้พ่อแม่พันธุ์กุ้ง SPF ของฮาวายมาช่วยสร้างอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งของพวกเขา จีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่เลี้ยงกุ้งซับซ้อนมากประเทศหนึ่ง แม้ว่าจีนได้ลงทุนไป 30 ล้านดอลลาร์ในบริษัท Texas Primo Broodstock Inc. ก็ตาม แต่ความสำเร็จด้านผลิตพ่อแม่พันธุ์ยังจำกัดจนถึงตอนนี้


               ยุคของกุ้ง SPF ของฮาวายใกล้จะหมดลงแล้ว ในจีนพบว่าพ่อม่พันธุ์กุ้งฮาวายไม่สามารถแข่งขันกับพ่อแม่พัธุ์กุ้งจากแหล่งอื่นได้ เพราะว่าลูกกุ้งที่ได้อ่อนแอและติดเชื้อง่าย ผมไม่คิดว่าพ่อแม่พันธุ์กุ้งฮาวายมีอัลลีลที่ถูกต้อง (right alleles) หรือความแตกต่างของยีน การคัดเลือกแบบฮาวายมีช่วงของอัลลีลแคบมากในช่วงเริ่มต้นของโปรแกรมเพาะพันธุ์ สัตว์ที่ผลิตยีนร่วมกันหลายหลายแสนชุดในแต่ละเจเนอเรชั่น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีอัลลีลอย่างเพียงพอต่อการเริ่มต้น โอกาสสำหรับยีนที่น่าสนใจเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคแต่พวกมันไม่ป่วย
                พ่อแม่พันธุ์กุ้งต้านโรคเฉพาะ (SPR) และลูกกุ้งกำลังเข้ามาแทนที่ตลาด แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะทำ SPR ได้อย่างเหมาะสมในฮาวาย เนื่องจากมีกฎระเบียบจำกัดหรือห้ามการนำเข้ากุ้งที่เป็นโรค กฎระเบียบระหว่างประเทศที่คุณควรตระหนักอย่างมากเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้าพ่อแม่พันธุ์กุ้งที่กำหนดขึ้นโดยองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization for Animal Health หรือ OIE) จะต้องไม่มีการจัดส่งพ่อแม่พันธุ์กุ้งใดๆ ระหว่างประเทศ ถ้ากุ้งนั้นไม่ใช่ SPF สำหรับโรคที่ OIE ระบุไว้ทั้งหมด
                   พ่อแม่พันธุ์กุ้งจากไทยกำลังกลายเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในจีน และส่วนแบ่งตลาดของกุ้งฮาวายกำลังหดตัวลง อินโดนีเซียดูเหมือนจะไปได้ดีกับกุ้งสายพันธุ์ฮาวาย แต่เป็นเรื่องยากที่จะหาตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอื่นๆ ในปัจจุบัน ในลาตินอเมริกา ผู้เพาะพันธุ์กุ้งได้คิดหาวิธีสร้างพ่อแม่พันธุ์ต้านทานโรคของเชื้อที่ก่อโรคในกุ้งทั้งหมด (all pathogen exposed หรือ APE) ขณะที่ยังคงสถานะความเป็น SPF ไว้ เพื่อที่สามารถซื้อขายได้ตามกฎหมายในตลาดระหว่างประเทศ
                 Daniel บอกในช่วงท้ายว่า ผมกำลังเขียนเพิ่มเติมถึงปัญหาที่เกิดทั่วโลกในอุตสาหกรรมกุ้ง และงานวิจัยสำคัญบางเรื่องที่เราได้ทำไปแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาในอุตสาหกรรมกุ้งนั้นเป็นปัญหาด้านมานุษยวิทยา (คนเป็นสาเหตุของปัญหา)



โดย Vinij Tansakul
08-04-2017






11/4/60

มาตรา 9 ตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาสวล. 2535 ตอนที่ 7 ประกาศในราชกิจจาฯ ส่วนที่เหลือ


11-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน
     
                 วันนี้เราก็ยังคุยกันต่อนะครับเรื่องมาตรา 9 สองตอนที่ผ่านมาเราคุยกันถึงคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 2 ชุดคือลงวันที่ 14 สิงหาคม 2541 และลงวันที่ 25 สิงหาคม 2541 รวม 34 จังหวัด วันนี้เรามาดูส่วนที่เหลือกันนะครับ

ชุดที่3 เป็นชุดคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ต่างที่เหลืออีก 35 จังหวัดนะครับ

คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 มี 3 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 มี 1 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 1 กันยายน 2541 มี 3 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 4 กันยายน 2541 มี 2 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 7 กันยายน 2541 มี 1 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 14 กันยายน 2541 มี 4 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 16 กันยายน 2541 มี 2 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 23 กันยายน 2541 มี 2 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 28 กันยายน 2541 มี 1 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 30 กันยายน 2541 มี 1 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 14 ตุลาาคม 2541 มี 2 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 20 ตุลาาคม 2541 มี 1 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 30 ตุลาาคม 2541 มี 1 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2541 มี 2 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2541 มี 1 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2541 มี 1 จังหวัด
*****หมายเหตุ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขัณฑ์มีหลายคำสั่งนะครับควรเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งที่เว็บไซต์ของ ราชกิจจานุเบกษา

คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2541 มี 1 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2541 มี 1 จังหวัด

*****หมายเหตุ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาฑ์มีหลายคำสั่งนะครับควรเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งที่เว็บไซต์ของ ราชกิจจานุเบกษา

คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2541 มี 1 จังหวัด

คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 15 มกราคม 2542 มี 1 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 มี 1 จังหวัด

คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2543 มี 1 จังหวัด
คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2544 มี 1 จังหวัด
นี่คือจังหวัดที่ผมได้สืบค้นมาทั้งหมดจากเว็บไซต์ของ ราชกิจจานุเบกษา หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยทุกท่านด้วยนะครับ และผมยังไม่เห็นประกาศแก้ไขคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดตามแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ที่ 6/2553 ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2553  มีใจความว่า ให้ปรับปรุงข้อความในคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2541 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2541 จาก "เพื่อระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืด" เป็น "เพื่อระงับการใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด" ทั้งนี้ ในการสั่งระงับนั้น หากกำลังอยู่ในระหว่างช่วงการเพาะเลี้ยง ให้ดำเนินการได้ในแต่ละช่วงและจับสัตว์น้ำให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ทั้งนี้ ยกเว้นการเลี้ยงสัตว์น้ำในโรงเพาะฟักสัตว์น้ำ บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของทางราชการ และสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน โดยไม่มีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น และจัดให้มีระบบการบำบัดและควบคุมการปล่อยน้ำทิ้ง ตลอดจนมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและพื้นที่ใกล้เคียงด้วย   จึงเรียนแจ้งให้ทราบทั่วกัน หากใครมีข้อมูลเพิ่มเติมสามารถแจ้งได้ทั้งทางอีเมล์และเบอร์โทรศัพท์นะครับ






10/4/60

มาตรา 9 ตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาสวล. 2535 ตอนที่ 6 ประกาศในราชกิจจาฯ 25 สค.41


10-04-2017

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวนากุ้งทุกท่าน

                  วันนีเรายังมาคุยกันต่อเรื่องของมาตรา 9 กันต่อนะครับ วันนี้เราจะมาดูกันต่อนะครับว่าจังหวัดที่เหลืออีกกี่จังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อไหร่ ขอย้ำว่าทุกท่านสามรถเข้าไปตรวจสอบพื้นที่การเลี้ยงของท่านได้นะครับว่าอยู่ในเขตคำสั่งห้ามของผู้ว่าราชการจังหวัดตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 2/2541 หรือไม่ โดยคลิ๊กเข้าไปที่เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา  แล้วตามด้วยชื่อจังหวัดนะครับ

ชุดที่ 2  เป็นชุดคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2541 มี 13 จังหวัด ดังนี้


ชุดนี้คือคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ชุดแรก เล่มที่ 115 ตอนพิเศษ 73ง ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2541 มี 13 จังหวัดครับ